Trending Now

ช่วงนี้ แน่นอนว่าออกไปไหนไม่ได้ ซิปเลยชวนอยู่บ้าน ดูดาวกันไปเลย ซิปก็มองว่า ปรากฎการณ์ทาง ดาราศาสตร์ ก็เป็นอีเว้นท์ที่เอาจริงๆ คนกรุงเทพฯ มีโอกาสได้สัมผัสน้อยมากๆ แต่ช่วงนี้ ไฟต่างๆ ในกรุงเทพฯ ไม่ได้สว่างไสวมากนัก ก็อาจจะยังพอมีโอกาสได้ดูดาวกันอยู่ ซิปเลยไปหาอ่านจากเพจ NARIT หรือ สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ มาแชร์กันว่ามีอะไรเกิดขึ้นบ้าง ไปติดตาม เพื่ออัพเดทข่าวสารกันได้

วันที่ 20 สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา กับการเข้าใกล้โลกมากที่สุดของดาวพฤหัสบดี

แม้ฟ้าฝนจะไม่เป็นใจ แต่เราก็พาพี่ใหญ่แห่งระบบสุริยะมาฝากทุกคนได้ นี่คือ ดาวพฤหัสบดี คืนใกล้โลกที่สุดในรอบปี 20 สิงหาคม 2564 ภาพนี้บันทึกผ่านกล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 0.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบ พระชนมพรรษา สงขลา ในภาพปรากฏให้เห็นแถบเมฆบนดาวพฤหัสบดี แม้ว่าขณะบันทึกภาพทัศนวิสัยท้องฟ้าไม่ค่อยดีนัก เนื่องจากมีเมฆเป็นบางส่วนวันที่ 20 สิงหาคม 2564 ดาวพฤหัสบดีโคจรเข้ามาอยู่ในตำแหน่งตรงข้ามดวงอาทิตย์​ ดวงอาทิตย์ โลก และดาวพฤหัสบดีเรียงอยู่ในแนวเดียวกัน โดยมีโลกอยู่ตรงกลาง นับเป็นตำแหน่งใกล้โลกมากที่สุดในรอบปี ที่ระยะห่างจากโลกประมาณ 600 ล้านกิโลเมตร

ดาราศาสตร์

เมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า จะเห็นดาวพฤหัสบดีปรากฏสว่างทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ หากฟ้าใส ไร้เมฆฝน สังเกตได้ยาวนานตลอดคืนจนถึงรุ่งเช้าบรรยากาศการสังเกตการณ์ดาวพฤหัสดีช่วงหัวค่ำคืนดังกล่าว หลายพื้นที่มองเห็นดาวพฤหัสบดีในคืนใกล้โลกที่สุดในรอบปีได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ทางภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อาทิ เชียงใหม่ เชียงราย ลำพูน ลำปาง สุรินทร์ ยโสธร ร้อยเอ็ด อุบลราชธานี กาฬสินธ์ุ ฯลฯ แต่อีกหลายพื้นที่ของประเทศมีเมฆค่อนข้างมาก และมีฝนตกหนัก ไม่สามารถสังเกตการณ์ได้ อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้ดาวพฤหัสบดีจะยังคงปรากฏบนท้องฟ้าในช่วงค่ำคืนจนถึงประมาณเดือนมกราคม 2565 ดาวพฤหัสบดีจะโคจรเข้ามาในตำแหน่งใกล้โลกทุกๆ 13 เดือน ครั้งต่อไปจะเข้ามาใกล้โลกในวันที่ 27 กันยายน 2565

วันที่ 22 สิงหาคม 2564 เหตุการณ์หายากของวงการ ดาราศาสตร์

ไหนๆ ดาวพฤหัสบดีก็มาใกล้โลกแล้ว แถมยังได้พบปรากฎการณ์หายากอีกด้วย NARIT เผยภาพอุปราคาและการบังกันระหว่าง ดวงจันทร์แกนีมีด กับดวงจันทร์ยูโรปา ของดาวพฤหัสบดี เมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2564 เกิดปรากฏการณ์หาชมยากของดวงจันทร์กาลิเลียน 2 ดวง นั่นคือ การเกิดอุปราคา (eclipse) และการบังกัน (occultation) ระหว่างดวงจันทร์แกนีมีดกับดวงจันทร์ยูโรปา

ดาวพฤหัสบดีมีดวงจันทร์บริวารที่ยืนยันแล้วทั้งหมด 79 ดวง มีดวงจันทร์ขนาดใหญ่ที่สุด 4 ดวงที่สามารถสังเกตการณ์ด้วยกล้องโทรทรรศน์ได้ เรียกว่า “ดวงจันทร์กาลิเลียน” ประกอบด้วย ไอโอ ยูโรปา แกนีมีด และคัลลิสโต จึงทำให้เราได้เห็นปรากฏการณ์ดาราศาสตร์ครั้งนี้ ในโอกาสที่โลก ดวงอาทิตย์ และดวงจันทร์ของดาวพฤหัสบดีโคจรมาอยู่ในระนาบเดียวกัน ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกๆ 6 ปี

จะเห็นว่า ถ้าลูกเพจติดตาม Facebook https://www.facebook.com/NARITpage/ เอาไว้ จะได้รับทราบเหตุการณ์บนท้องฟ้าที่ไม่น่าเชื่อ เกิดขึ้นบ่อยกว่าที่เราคิดไว้มากๆ แน่นอนว่า เพื่อนๆ หลายคนน่าจะเสียดายที่ผ่านไปแล้ว แต่ถ้าทางเพจ NARIT มีอัพเดตยังไงก็ตาม ทางซิปจะมาเล่าสู่กันฟังแน่นอน

การประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2564 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์”

ดาราศาสตร์

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม เชิญชวนผู้ที่สนใจและรักการถ่ายภาพ ส่งภาพเข้าร่วมการประกวดภาพถ่ายทางดาราศาสตร์ ประจำปี 2564 หัวข้อ “มหัศจรรย์ภาพถ่ายดาราศาสตร์” ชิงเงินรางวัลมูลค่ารวมกว่า 160,000 บาท

ผู้มีสิทธิ์เข้าร่วมได้ตั้งแต่เยาวชน และประชาชนทั่วไปไม่จำกัดเพศและอายุ ประเภทภาพถ่ายที่ส่งเข้าประกวดได้
1. ประเภท Deep Sky Objects เช่น กาแล็กซี เนบิวลาและกระจุกดาว

2. ประเภทปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ เช่น ปรากฏการณ์สุริยุปราคา จันทรุปราคา ฝนดาวตก การบังกันของวัตถุในระบบสุริยะ การเกิดคอนจังชันของวัตถุในระบบสุริยะแต่ไม่รวมถึงปรากฏการณ์การขึ้น – ตกของดวงอาทิตย์และดวงจันทร์ การเกิดเฟสของดวงจันทร์ เป็นต้น ทั้งนี้ต้องไม่รวมถึงปรากฏการณ์ทางอุตุนิยมวิทยา เช่น ฟ้าฝ่า เมฆสี หรือการเกิดรุ้ง (หมายเหตุ : สามารถส่งภาพปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่ถ่ายจากต่างประเทศได้)

3. ประเภทวัตถุในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์ ดาวหาง ดาวเคราะห์น้อย ดวงจันทร์ ดวงอาทิตย์ เป็นต้น

4. ประเภทวิวธรรมชาติกับดาราศาสตร์ เช่น ภาพถ่ายที่ประกอบด้วยวัตถุบนพื้นโลกกับวัตถุบนท้องฟ้าที่เกี่ยวข้องกับดาราศาสตร์ เช่น แสงดาว ทางช้างเผือก กลุ่มดาวกับวิวธรรมชาติ แสงจักรราศี เป็นต้น

2.5 ประเภทปรากฏการณ์ที่เกิดในบรรยากาศของโลก เช่น ปรากฏการณ์ทางลมฟ้าอากาศ ฟ้าผ่า เมฆสี การเกิดรุ้งกินน้ำ ดวงอาทิตย์ทรงกลดหรือดวงจันทร์ทรงกลด เป็นต้น

รายละเอียดต่างๆ คลิกที่นี่ และข้อมูลในบทความ รวมถึงรูปภาพทั้งหมดในบทความนี้ ก็ต้องขอขอบพระคุณทาง NARIT หรือสถาบันวิจัยทางดาราศาสตร์ เป็นอย่างสูง ทางซิปอยากเอามาบอกต่อลูกเพจนานแล้ว เพราะเรื่องดาราศาสตร์ไทย ก็ไม่แพ้ใครในโลกเหมือนกัน ยังไงลูกเพจก็ไปติดตามได้ ที่ Facebook Fanpage : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ และถ้ามีอะไรที่ผู้เขียนตกหล่น ก็คอมเม้นมาบอกกันได้เลย


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 

  • Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
  • Instagram: @Zipevent
  • Website: www.zipeventapp.com
  • Twitter: @Zipevent
  • Facebook: @Zipevent

Comments

comments