How to วิธีเอาตัวรอด เมื่อคุณตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน

เมื่อวันหนึ่งคุณต้องตกอยู่ในสถานการณ์ฉุกเฉิน เป็นคุณจะทำอย่างไร? พอนึกถึงคำว่าสถานการณ์ฉุกเฉินแล้ว คงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตัวเอง เพราะเหตุการณ์เหล่านี้อาจนำพามาซึ่งความสูญเสียต่างๆ ทั้งทางด้านทรัพย์สิน จิตใจ หรือไปจนถึงขั้นเสียชีวิตเลยก็เป็นได้ 

Help me please! 6 แอปช่วยชีวิต ฉุกเฉินหรือมีเหตุร้าย

จะดีกว่าไหมถ้าเราเตรียมตัวให้พร้อมในทุกๆ สถานการณ์ Zipevent ได้รวบรวมวิธีเอาตัวรอดมาฝากเพื่อนๆ ถึงจะเป็นเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ แต่หวังว่าทุกคนจะสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ในภายภาคหน้า ไปดูว่าจะมีเหตุการณ์อะไรบ้าง!?


1. ฝูงชนแออัด ผู้คนเบียดเสียด

สำหรับสถานการณ์เมื่อคุณต้องตกอยู่ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยผู้คนที่รายล้อมในจำนวนมาก เกิดฝูงชนแออัด ก่อให้เกิดการเบียดเสียด การดัน และการถูกบีบรัด ที่จะส่งผลให้คุณขาดอากาศหายใจหรือโดนเหยียบ เช่น การยืนอัดบน BTS และรถโดยสาร / การยืนดูคอนเสิร์ต / การร่วมงานเฟสติวัลที่มีคนจำนวนมาก เป็นต้น

Tips เบื้องต้น

  • พยายามยืนให้มั่นคง ควบคุมการหายใจ ป้องกันไม่ให้ตนเองล้ม (หากล้มลงอาจเสี่ยงโดนเหยียบได้)
  • ใช้แขนตั้งการ์ดกันหน้าอก เพื่อป้องกันการถูกเบียด
  • พยายามไหลไปตามฝูงชน และอยู่ให้ห่างจากกำแพงมากที่สุด

2. สถานการณ์ไฟไหม้

อีกหนึ่งสถานการณ์ฉุกเฉินที่อันตรายมากๆ ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นกับตนเองคือ เหตุไฟไหม้ โดยส่วนใหญ่แล้วสาเหตุหลักที่ทำให้เกิดไฟไหม้มาจากความประมาทของมนุษย์ หรือเหตุที่เกิดจากตัวไฟเอง สิ่งที่ทำให้เสียชีวิตได้ ส่วนใหญ่มาจากการขาดอากาศหายใจเพราะ ‘ควันไฟ’ หรือบางรายอาจโดนไฟครอก จนทำให้เสียชีวิตได้ในเวลาต่อมา

Tips เบื้องต้น

  • รีบมองหาทางหนีไฟเพื่อออกมาให้เร็วที่สุด
  • ห้ามใช้ลิฟท์หรือบันไดเลื่อนเป็นอันขาด
  • เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้ ส่วนใหญ่ควันไฟจะลอยขึ้นที่สูง (ควรที่จะก้มตัวลงต่ำ พร้อมทั้งหาผ้าชุบน้ำมาปิดจมูก เพื่อป้องกันการสำลักควัน)
  • มีสติอยู่เสมอ! อย่ามัวแต่ห่วงหรือพะวงเรื่องอื่นๆ ที่ไม่จำเป็น และมองหาทางหนีไฟก่อนเป็นอันดับแรก

3. อุบัติเหตุทางน้ำ

สำหรับอุบัติเหตุทางน้ำ เป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินที่สามารถเกิดขึ้นได้อยู่ตลอด ซึ่งที่เราพบเห็นหลักๆ คือ สถานการณ์จมน้ำ มีคนเป็นตะคริวระหว่างเล่นน้ำ เป็นต้น โดยปกติคนที่จมน้ำนั้น มักเกิดจากความตระหนกตกใจ ที่พยายามตะกายตัวให้พ้นเหนือน้ำจนหมดแรงนั่นเอง หรือสำหรับถ้าอยู่ในสถานการณ์เป็นตะคริวในน้ำ เราเองก็มีทริคเล็กๆ น้อยๆ มาฝากกัน

Tips เบื้องต้น

สำหรับสถานการณ์มีคนจมน้ำ โดยวิธี CPR (Cardiopulmonary Resuscitation)

  1. รีบนําผู้ที่จมน้ำออกจากที่เกิดเหตุและให้อยู่ในที่ปลอดภัย โดยจัดท่าให้นอนหงายราบบนพื้นที่มีความแข็ง เริ่มทำการช่วยหายใจได้ตั้งแต่อยู่ในน้ำและให้รีบตัวผู้ป่วยขึ้นจากน้ำอย่างรวดเร็ว และให้ผู้อื่นรีบโทรขอรถพยาบาลที่ 1669
  2. กดหน้าอก 30 ครั้ง (กดที่กึ่งกลางระหว่างหัวนมทั้งสองข้าง ลึกมากกว่า 2 นิ้ว อัตราเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที) และเปิดทางเดินหายใจให้โล่ง จากนั้นให้ทำการช่วยหายใจแบบปากต่อปาก 2 ครั้ง
  3. ทําการกดหน้าอก 30 ครั้งสลับกับช่วยหายใจ 2 ครั้งไปเรื่อยๆ จนกว่ารถพยาบาลจะมาถึง

สำหรับสถานการณ์เป็นตะคริวขณะอยู่ในน้ำ

  • ทุกครั้งที่เป็นตะคริวขณะว่ายน้ำ ต้องตั้งสติ และพยายามพาตัวเองไปในที่น้ำตื้น และต้องทำให้ตัวของเราลอยน้ำอยู่ตลอดเวลา เนื่องจากเพื่อไม่ให้ตื่นกลัวและยังสามารถควบคุมตนเองไม่ให้จมน้ำได้นั่นเอง

4. แผ่นดินไหว

สำหรับสถานการณ์แผ่นดินไหวนั้น ในบ้านเราอาจไม่ได้เกิดขึ้นได้บ่อยๆ เพราะไม่ได้อยู่ในเขต Rings of Fire แต่ก็ยังมีเกิดขึ้น เมื่อได้รับผลกระทบจากประเทศใกล้เคียง ถือเป็นสถานการณ์ฉุกเฉินที่เกิดมาจากภัยธรรมชาติ ซึ่งในบ้านเรามีโอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์แผ่นดินไหวได้น้อยเมื่อเทียบกับประเทศในเอเชียประเทศอื่นอย่าง ญี่ปุ่น

Tips เบื้องต้น

  • ถ้าอยู่ในที่โล่ง ให้วิ่งออกจากตัวอาคารหรือต้นไม้ เพื่อป้องกันเศษต่างๆ ร่วงลงมา
  • กรณีที่อยู่ในอาคาร ให้มองหาที่หลบ เช่น โต๊ะ ตู้ หรือสิ่งที่ใหญ่พอจะกำบังเราได้จากสิ่งของที่จะร่วงจากเพดานลงมา
  • ห้ามวิ่งแบบไร้จุดหมาย ลงบันไดเลื่อน และลงลิฟท์ เพราะอาจเกิดอันตรายได้ และที่สำคัญมีสติให้มากที่สุด

5. สึนามิ

สำหรับเหตุการณ์สึนามิ นับเป็นภัยพิบัติที่เรียกว่าเคยเกิดขึ้นในประเทศไทยมาแล้วครั้งใหญ่เมื่อปี 2547 ถือเป็นภัยพิบัติที่ร้ายแรงที่สุดสำหรับผู้อาศัยบริเวณแนวชายฝั่ง ติดทะเล และยังสามารถสร้างความสูญเสียได้มากมายและคร่าชีวิตผู้คนได้เป็นจำนวนมาก ถึงแม้จะไม่ได้เกิดได้บ่อยๆ ในบ้านเรา แต่การรับมือป้องกันไว้ก่อน อาจเป็นประโยชน์อย่างยิ่ง

Tips เบื้องต้น

Note: มีสติ ไม่ตื่นตระหนก / เช็กป้ายสัญญาณเตือนภัยสึนามิ / ขณะอยู่ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ ควรหมอบกับพื้น

  • กรณีอยู่บนเรือ หากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นขณะอยู่ในพื้นที่ประสบภัยสึนามิ ควรหมอบกับพื้น 
  • กรณีอยู่บนชายหาด หากรู้สึกแผ่นดินสะเทือนให้รีบออกจากชายฝั่งให้เร็วที่สุด ถ้าหากหนีไม่ทันให้ปีนขึ้นที่สูงที่สุด และถ้าหากกำลังจมน้ำให้หาสิ่งที่ลอยน้ำได้ และทำการเกาะไว้ให้แน่นที่สุด
  • กรณีอยู่ในอาคารที่พักอาศัย หากอยู่ในที่พักอาศัย หรือโรงเรียนให้ทำตามแผนอพยพ

6. ติดอยู่ในที่มืด / ถ้ำ

อีกหนึ่งสถานการณ์ฉุกเฉินที่เรามักได้ยินข่าวอยู่เรื่อยๆ และจากเหตุการณ์อันโด่งดังของไทยจาก “เหตุการณ์ 13 ชีวิตทีมหมูป่าติดถ้ำหลวง” จึงทำให้ทุกคนควรที่จะตื่นตัวและเรียนรู้วิธีการเอาตัวรอดในเบื้องต้นเมื่อเกิดเหตุการณ์เหล่านี้

Tips เบื้องต้น

  • ตั้งสติ ไม่ตื่นกลัว พยายามนึกคิดถึงเส้นทางที่เคยเดินผ่านมา (ให้ระวังความวิตกกังวลที่เกิดขึ้น อาจทำให้เราเดินหาทางออกไม่เจอ และหลงในที่สุด)
  • พยายามอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ไม่ควรแยกกัน
  • ทำการเดินสำรวจทางออก และให้ทำเส้นทางไว้เป็นระยะๆ เพื่อให้จำได้ หรือถ้ามีเจ้าหน้าที่ตามมาจะได้หาเราเจอได้ง่ายขึ้น

7. สถานการณ์น้ำท่วม

อีกหนึ่งสถานการณ์ฉุกเฉินสุดท้ายอย่าง ‘น้ำท่วม’ ซึ่งช่วงนี้เข้าสู่ฤดูฝนอย่างเป็นทางการแล้ว นี่จึงเป็นเหตุการณ์ฉุกเฉินที่เกิดมาจากภัยธรรมชาติที่เกิดขึ้นได้บ่อยๆ ในประเทศไทย เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแดนราบลุ่มและมีฤดูฝนที่ยาวนาน ดังนั้นเพื่อให้เราเซฟตัวเองให้ทัน จะมีทริคไหนแนะนำบ้าง

Tips เบื้องต้น

  • ให้รีบเก็บสิ่งของต่างๆ ที่เสียงต่อความเสียหายไว้ขึ้นที่สูง
  • พยายามดูและศึกษาเส้นทางของการเดินน้ำ ดูระยะเวลาจากสื่อต่างๆ 
  • เริ่มเตรียมเสบียง อาหาร เสื้อผ้า และอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ดำเนินชีวิต (ในกรณีที่มีการอพยพ)
  • ถอดปลั๊กไฟทุกชิ้นในบ้านไปไว้ที่สูง และตัดกระแสไฟของตัวบ้าน

นี่เป็นเพียงหนึ่งใน วิธีเอาตัวรอด จากสถานการณ์ฉุกเฉินที่สำคัญบางเหตุการณ์เท่านั้น ซิปอีเว้นท์ขอความหวังดี ให้ทุกคนมีสติ และใช้ชีวิตในความไม่ประมาท หรือหากเกิดสถานการณ์คับขันเช่นนี้ ให้รีบทำการช่วยเหลือตนเองให้ไวที่สุด

ขอบคุณข้อมูลและอ้างอิงจาก

Follow us for more interesting content!

ฝากถึงพี่น้อง แฟนๆ ที่เคารพรักทุกท่าน ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย จิ้มๆ

Comments

comments

Author

Content Creator at Zipevent จบมนุษย์แต่ใจอยากเรียนนิเทศน์ เริ่มต้นสู่การเป็น Multi-task สายคอนเทนต์ ชื่นชอบแฟชั่น รักการแต่งตัว มีความสุขเวลาได้สร้างงานไลฟ์สไตล์ งานรีวิว งานพากย์เสียง พร้อมครีเอทเรื่องราวสนุกๆ ให้ติดหูคนอ่าน