บรีฟที่ดี ต้องทำยังไง?
บรีฟแบบไหน? ที่ทั้งคนทำและคนสั่งจะไม่ต้องนั่งกุมขมับ!

#EventGuidelines หากใครทำงานอยู่สายการตลาด เอเจนซี ครีเอทีฟ โฆษณา หรือสายอื่นๆ จะต้องวนเวียนอยู่กับการ ‘บรีฟ’ ตลอดไป ซึ่งถือเป็นหัวใจสำคัญของข้อสรุปโจทย์งาน ถ้าบรีฟไม่ดีหรือไม่เข้าใจ คนสั่งบรีฟก็จะเครียด ส่วนคนรับบรีฟก็จะงง และปัญหาที่ตามมานั้นก็คือ บางครั้งได้บรีฟไม่ตรงใจ เนื่องจากยังสื่อสารกันไม่ชัดเจนพอ จนต้องเสียเวลาปรับจูนหรือนั่งแก้งานไปเรื่อยๆ ดังนั้นการบรีฟงานที่ดีต้องเข้าใจง่าย ชัดเจน ครบถ้วน มาตั้งแต่แรก!

ใครที่กำลังมีปัญหาเรื่องการรับบรีฟหรือการบรีฟอยู่ วันนี้ Zipevent มาแชร์บทความดีๆ ที่จะช่วยให้คนทำงานแฮปปี้ ว่าบรัฟที่ดีควรมีอะไรบ้าง หรืออะไรที่ต้องรู้! เพื่อให้ทุกคนนำไปปรับใช้กับงานของตัวเองได้ดีขึ้น รับรองได้งานตรงใจแน่นอน

//

– 7 สิ่งที่ต้องรู้ ‘บรีฟที่ดี’ ควรมีอะไรบ้าง? –

Checklist! 'บรีฟที่ดี' ควรมีอะไรบ้าง? เช็ก 7 สิ่งที่ต้องรู้ ได้งานตรงใจ ไม่ต้องแก้เยอะ!

1. รู้ ‘Goal’ และ ‘Target’ ของงาน

  • ผู้บรีฟต้องเข้าใจในแต่ละงานว่ามี จุดประสงค์ (Goal) ทำอะไร? และรู้สิ่งที่แบรนด์จะสื่อสารออกไปให้ถ่องแท้ ก่อนจะส่งงานต่อให้กับผู้ออกแบบ (ผู้รับบรีฟ)
  • อีกทั้งต้องรู้ กลุ่มเป้าหมาย (Target) ทำเพื่อใคร? เพื่อจะได้ตอบสนองความต้องการให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายมากยิ่งขึ้น

2. เข้าใจ ‘Brand Background / Brand CI’

  • ทำความเข้าใจเบื้องหลังของแบรนด์ มีภาพลักษณ์แบบไหน ดู Brand CI ว่าคืออะไร?
  • ช่วยให้คนทำงานเข้าใจบริบทของแบรนด์

3. ระบุ ‘Key Message’ ให้ชัด

  • สรุป Flow งานให้ได้ว่า เนื้องานที่ต้องทำเป็นแบบไหน? ใจความสำคัญคืออะไร? ที่เกี่ยวข้องกับงานทั้งหมด ควรจะกระชับ จำง่าย สามารถอ่านแล้วเข้าใจได้ทันทีว่างานนี้คืออะไร มีอะไรให้โฟกัสเป็นพิเศษบ้าง
  • ในพาร์ท Content ข้อมูลของตัวสินค้าหรือบริการของแบรนด์ ก็สำคัญมากเช่นกัน!

4. ส่ง ‘Material & Scope’ ที่สำคัญไว้เลย!

  • Note! ข้อนี้สำคัญมาก เพราะเป็นอีกหนึ่งปัญหาที่เกิดขึ้นบ่อยครั้งสำหรับการบรีฟ
  • ควรแจ้ง Do & Don’t! ว่าอยากให้ทำหรือไม่ทำอะไรบ้าง หากมีตัวอย่างงานที่ต้องการ สามารถแนบประกอบไปด้วยได้จะดีมากๆ
  • สิ่งที่ควรแจ้ง: สี, ข้อความ,ไฟล์รูปภาพต่างๆ, Logo, Mood&Tone, คำต้องห้าม, แบรนด์คู่แข่ง

5. มี ‘Timeline Date’ ระยะทำงานและลงงาน

  • กำหนด Timeline Date เพื่อระบุถึงขั้นตอนต่างๆ ตั้งแต่เริ่มงาน ระหว่างทำ จนจบงาน พร้อมแบ่งเป็นลิสต์ย่อยๆ ว่า มีอะไรที่ต้องส่งตอนไหนบ้าง
  • อีกทั้งกำหนด Post Date ของการลงงาน *เผื่อเวลาล่วงหน้าก่อนลงหรือนำเสนอประมาณ 2-3 วัน 

6. แจ้ง ‘Budget’ ที่ใช้ในงาน

  • ควรแจ้งงบประมาณ (Budget) เพื่อลด-เพิ่ม Cost ในส่วนต่างๆ เพื่อให้ตกลงกันได้ง่ายขึ้นก่อนเริ่มงาน
  • การะบุ Budget ช่วยให้ตัวเลขทางการเงิน/งบของเรา ยังอยู่ในแผนงาน

7. ระบุ ‘Key Contact’ สำหรับการติดต่อ

  • ต้องระบุ Key Contact ให้ชัดเจนว่าติดต่อใคร เรื่องไหนใครดูแล เพื่อให้ Flow การทำงานเป็นไปอย่างราบรื่น

อ้างอิงและเรียบเรียงข้อมูลจาก:


อ่านบทความที่เกี่ยวข้อง

  • เช็ก! 4 บุคลิกภาพ DISC Model บอกนิสัยการทำงาน คุณเป็นแบบไหน? คลิก!
  • CV กับ Resume ต่างกันอย่างไร? คลิก!
  • เขียนอีเมลสมัครงาน แบบไหนให้ปัง? รวมทุกเทคนิคและข้อควรรู้ คลิก!
  • แนะนำ! เฉดสีสร้าง Resume สายงานไหน เหมาะกับสีอะไรบ้าง? คลิก!

Follow us for more interesting content!
ฝากถึงพี่น้อง แฟนๆ ที่เคารพรักทุกท่าน ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย จิ้มๆ

Comments

comments

Author

Content Creator at Zipevent จบมนุษย์แต่ใจอยากเรียนนิเทศน์ เริ่มต้นสู่การเป็น Multi-task สายคอนเทนต์ ชื่นชอบแฟชั่น รักการแต่งตัว มีความสุขเวลาได้สร้างงานไลฟ์สไตล์ งานรีวิว งานพากย์เสียง พร้อมครีเอทเรื่องราวสนุกๆ ให้ติดหูคนอ่าน