Trending Now

” เราเห็นภาพว่า วัยรุ่นยุคใหม่ๆ เขาชอบไปงานสนุกๆ กัน

ปีนี้เราก็เลยจัดธีมเป็น Festival ขึ้นมา ชื่องาน รักเหมา Fest

คำตอบจาก คุณ ไผท ผดุงถิ่น (โบ๊ท) CEO ธุรกิจสตาร์ทอัพวงการผู้รับเหมาก่อสร้างอย่าง BUILK ทำให้เราเริ่มรู้สึกว่า งานอีเว้นท์ที่เกี่ยวกับวงการก่อสร้างนั้นอาจจะมีอะไรน่าสนใจกว่าที่เราคิด เผลอๆ อาจจะเปลี่ยนมุมมองต่อวงการก่อสร้างไปเลยก็ได้

แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้นั้น เบื้องลึกเบื้องหลังของธุรกิจวงการก่อสร้างนี้จะมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง Zipevent มีโอกาสได้พูดคุยกับผู้ที่อยู่ในวงการนี้มานานถึง 8 ปี

จุดเริ่มต้นของ BUILK

“ตอนนั้นก็ยังไม่รู้จักเรื่อง Startup อะไรเท่าไหร่นะ แค่อยากจะสร้างอะไรที่มันมี Impact เยอะๆ มีคนใช้เยอะๆ เท่านั้นเอง ก็เลยเกิด BUILK ขึ้นมา ตอนแรกเราก็คิดว่าเราทำโปรแกรมที่แก้ปัญหาให้ผู้รับเหมาได้แล้ว รู้แล้วว่าปัญหาของผู้รับเหมาคืออะไร แรกๆ คือแทบจะไม่มีคนใช้เลย แต่พอถึงเวลามันมีคนใช้เยอะขึ้น เยอะขึ้น เราก็เพิ่งจะเข้าใจว่าเนี่ยแหละคือสิ่งที่เราต้องการหามาตลอด คือสิ่งที่มันอิมแพค คนใช้เขารู้สึกดีกับสิ่งที่เราทำ เขารู้สึกขอบคุณโปรแกรมเหล่านี้ที่ทำให้ชีวิตเขาง่ายขึ้น”

มุมมองเกี่ยวกับสตาร์ทอัพ ‘ที่ไหนมีปัญหา ที่นั่นมีโอกาส’ 

“ถ้าเรารู้สึกว่าคันกับปัญหานั้น แล้วรู้สึกว่าไม่อยากจะปล่อยให้มันเป็นอย่างนี้ต่อไป ก็สามารถมองว่าปัญหามันเป็นธุรกิจได้ เราสามารถเข้ามาแก้ปัญหา ทุ่มเวลา 3 ปี 5 ปีของเรากับเรื่องนี้ สุดท้ายมันก็อาจจะเป็นโอกาสทางธุรกิจที่มันใหญ่ขึ้นมาได้”

ความสำเร็จของไวรัลแคมเปญอย่าง ‘เจ๊จู วัสดุก่อสร้าง’ 

“ตอนนั้นเราทำเรื่องผู้รับเหมาไปได้พอสมควรแล้ว คิดว่าเรามีผู้รับเหมาใช้งานอยู่กลุ่มนึงแล้ว เราเลยอยากจะทำ e-commerce ขายวัสดุก่อสร้างครับ เราก็เลยทำเรื่อง ‘เจ๊จู’ ขึ้นมา ถือเป็นตัวแทนของร้านวัสดุก่อสร้าง อยากจะเล่าว่า ร้านวัสดุก่อสร้างก็สามารถปรับเปลี่ยนมาสู่ยุคดิจิตัลได้เหมือนกัน ไม่ได้กะจะให้มันเป็นไวรัลอะไรเลย กะจะให้แค่เจ๊ดูกันขำๆ ยิ้มๆ กันไป แต่ปรากฏว่ามันฟลุคครับ อยู่ดีๆ ก็เป็นไวรัลเฉยเลย”

“ซึ่งก็ทำให้เราได้คำตอบของเรื่องร้านวัสดุก่อสร้างเร็วขึ้น มีเจ๊จากร้านวัสดุก่อสร้างจากทั่วประเทศมาบอกถึงความต้องการต่างๆ เราก็ได้ Input มาพัฒนาเป็นโปรแกรม ตัวใหม่ขึ้นมา ชื่อว่า JUBILI ซึ่งก็ตอบโจทย์ร้านค้าวัสดุก่อสร้าง จนสุดท้ายแล้วเราก็มีหลายโปรแกรมที่ตอบโจทย์ผู้รับเหมา อสังหาริมทรัพย์ และคนอื่นๆ ในวงการนี้”

เริ่มจากโปรแกรมซอฟต์แวร์พัฒนาไปสู่งานเฟสติวัล

“จุดเริ่มต้นมันเหมือนกับการรวมคอมมูนิตี้อะครับ ปกติเรามีความสัมพันธ์กันบนโลกออนไลน์มาทั้งปีแล้ว เราก็อยากสร้างการรวมตัวเชิงสัญลักษณ์ขึ้นมาบ้างว่าเรามีตัวตนกันจริงๆ อย่างปีแรกที่จัดก็มีคนมาประมาณ 80 คน จัดที่โรงแรมเล็กๆ ตอนนั้นเราก็เริ่มเห็นภาพแล้วล่ะ ว่าคนก็เริ่มสละเวลาทำงาน เวลาที่มีค่าของเขามาร่วมงานกับเรา เราก็พา Speaker มาพูด เอาคอนเทนต์ดีๆ มาเล่าให้เขาฟัง ก็เป็นเหมือนงานทอล์คทั่วๆ ไป”

“แต่ปีที่แล้วเรารู้สึกว่ามันอิ่มตัว กับงานทอล์คที่มันมีอยู่แล้วทั่วประเทศ ใครๆ ก็ไปงานทอล์ค เสียเวลาไปวันนึงเพื่อนั่งฟัง เราเลยอยากจะทำงานในฟอร์แมตใหม่ขึ้นมา โดยในปีนี้เราก็เลยอยากจะทำให้มันแมสขึ้นมาหน่อย อยากให้มันมี Interaction เยอะขึ้น เราก็เห็นภาพว่า วัยรุ่นยุคใหม่ๆ เขาชอบไปงานสนุกๆ กัน เราก็เลยจัดธีมเป็น เฟสติวัล ขึ้นมา ชื่องาน ‘รักเหมา Fest’”

งานเฟสติวัลที่เข้าถึงได้ทุกคน

“ปีนี้เราเปลี่ยนจากการจัดงานแบบเช้าเลิกเย็น เป็นการจัดงาน 2 วันแทน เปิด 10 โมง เลิก 4 ทุ่ม จัดให้มันดึกๆ ไปเลย! เป็นเฟสติวัล มีทั้งลานเบียร์กินกัน, ของมาโชว์, Exhibition, Innovation Show Case, การประกวด Business และนวัตกรรมของแต่ละวงการก่อสร้าง”

“ที่สำคัญก็ตั้งใจว่าจะให้คนทั่วไปได้เข้ามาดูมากขึ้น อย่างเจ้าของบ้าน คนกำลังจะซื้อบ้าน คนกำลังจะดาวน์คอนโดครั้งแรก หรือว่าเด็กวัยรุ่น เขาก็ควรจะต้องมีข้อมูลพื้นฐานเวลาอยากตกแต่งคอนโดหรือว่าซื้อบ้าน ซึ่งในงานก็จะมีความรู้เหล่านั้นให้ด้วย มีคอนเนคชั่นอย่างผู้รับเหมา ซึ่งน้องๆ วัยรุ่นอาจจะยังไม่ได้ใช้บริการในตอนนี้ แต่เชื่อว่าในอนาคตก็ต้องมีการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์หรือใช้เพื่อการรีโนเวทอะไรสักอย่างบ้างอยู่แล้ว”

สุดท้ายนี้ใครที่กำลังอยากจะปรับปรุงบ้าน รีโนเวทห้อง หรือสนใจอยากลองไปเปิดประสบการณ์ใหม่ๆ กับโลกวงการรับเหมาก่อสร้างล่ะก็ ‘รักเหมาเฟส’ วันที่ 9 – 11 มีนาคมนี้ ที่ชั้น 3 แอร์พอร์ต เรล ลิ้งก์ มักกะสัน ลงทะเบียนได้ที่นี่เลย คลิ๊ก! แล้วจะได้เห็นว่าภาพลักษณ์ของผู้รับเหมาก่อสร้างในตอนนี้นั้นปรับเปลี่ยนไปมากน้อยแค่ไหนแล้ว แถมคุณโบ๊ทยังบอกเพิ่มเติมกับเราอีกด้วยนะว่า อยากให้มาช่วยใช้สเปซของสถานที่จัดงานไปด้วยกัน มาเปิดใจดูว่าวงการนี้เป็นยังไง เราอาจจะได้คอนเนคชั่นดีๆ ไอเดียดีๆ กลับบ้านไปด้วยก็ได้ : )

Interview & Story by Bonus Jinjutha

Photo by Dararat Ruengsri

Comments

comments

Author

You only live once