#Lifestyle : เกร็ดน่ารู้! Pride Month คืออะไร ? ย้อนประวัติและความเป็นมา แห่งเดือนสีรุ้งของ LGBTQ
ยินดีต้อนรับเข้าสู่เดือนมิถุนายนอย่างเป็นทางการ หรือจะให้พูดสั้นๆ ก็คือ เดือนนี้คงจะหนีไม่พ้นในเรื่องราวของ LGBTQIAN+ ซึ่งปัจจุบันโลกและในประเทศไทยเองได้เปิดรับพื้นที่สำหรับชาวสีรุ้งอย่างอิสระ และเกิดสมรสเท่าเทียมเป็นที่เรียบร้อย แต่รู้หรือไม่ว่า? ก่อนที่จะเป็นมาถึงทุกวันนี้ต้องแลกมาด้วยอะไรบ้าง ครั้งนี้เราจะพาไปรู้จักว่า Pride Month คืออะไร? ตั้งแต่ประวัติและจุดกำเนิด? ย้อนรำลึกถึงเหตุการณ์ในช่วงนั้น ตัวย่อคำเรียก? หรือทำไมต้องเป็นสีรุ้ง? ถึงจะมาเป็นเดือนแห่งความสุขเสรีนี้ได้ …
(ノ◕ヮ◕)ノ*:・゚

│
/ บันทึก ถึงเหล่า LGBTQ เริ่ม! /
ในเดือนมิถุนายนของทุกปีในหลายประเทศจะมีการจัดงานของกลุ่มคนผู้มีความหลากหลายทางเพศ ที่เราเรียกกันว่า เป็นเดือนแห่ง เทศกาลไพรด์ หรือ Pride Month โดยมีกจะมีการเดินพาเหรดที่เรียกว่า LGBTQ Parades หรือ ไพรด์พาเหรด (Pride Parade) เป็นเทศกาลที่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศจะเฉลิมฉลองกันอย่างคึกคัก จัดเต็ม โบกธงสีรุ้งให้สะบัด เพื่อเป็นแรงผลักดันให้เกิดความเสมอภาคของชาว LQBTQ+ ทั่วโลกนั่นเอง
✦✦✦
จุดเริ่มต้นของ Pride Month
ทศวรรษที่ 1960 เกย์ เลสเบี้ยน หรือคนที่แต่งกายและแสดงออกไม่ตรงกับเพศกำเนิดยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม รวมทั้งในประเทศที่ขึ้นชื่อว่า ‘เสรี’ อย่างสหรัฐฯ พวกเขาและเธอถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจหลากหลายรูปแบบ เหตุการณ์ที่เหมือนเป็นฟางเส้นสุดท้ายเกิดขึ้นในวันที่ 28 มิ.ย. 1969 ที่คลับเกย์ สโตนวอลล์อินน์ (Stonewall Inn) ในกรุงนิวยอร์ค

มีเจ้าหน้าที่ตำรวจเข้าตรวจค้นและจับกุมผู้ที่แต่งกายไม่ตรงกับเพศกำเนิด จนนำไปสู่การกระทบกระทั่งกันด้วยความรุนแรงระหว่างตำรวจกับกลุ่ม LGBTQ+ ที่แสดงความไม่พอใจต่อการปฏิบัติหน้าที่อย่างไม่เป็นธรรมและไม่เคารพสิทธิของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ เหตุการณ์นั้นปลุกกระแสการเรียกร้องสิทธิของกลุ่มความหลากหลายทางเพศในหลายประเทศ
Timeline of Pride History!
- ปี 1960 เกย์ เลสเบี้ยน ยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคม พวกเขาถูกทำร้ายทั้งทางร่างกายและจิตใจ
- 28 มิ.ย. 1969 LGBTQ ก่อจราจลต้านตำรวจที่คลับเกย์ ‘สโตนวอลล์อินน์’ (Stonewall Inn) ในกรุงนิวยอร์ค
- มิ.ย. 1978 Gilbert Baker ออกแบบธงสีรุ้งและใช้ครั้งแรก! ที่งาน San Francisco Pride
- มิ.ย. 1994 Pride Parade เกิดขึ้นที่ฟิลิปปินส์ เป็นครั้งแรกในเอเชีย
- มิ.ย. 1999 Pride Parade ครั้งแรกในไทย (สีลม กรุงเทพ และภูเก็ต)
- มิ.ย. 2000 สหรัฐฯ ประกาศให้มิถุนายนของทุกปีเป็น Pride Month
- มิ.ย. 2023 Pride Parade ของ Pride Month จัดเป็นปีที่ 53 ถือเป็นอีเว้นท์ระดับโลก
หลังจากนั้น เดือนมิถุนายนของทุกปีจึงได้มีการรำลึกเหตุการณ์ที่สโตนวอลล์อินน์
และเรียกเดือนนี้ว่า Pride Month ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา
‘กิลเบิร์ต เบเคอร์’ ผู้บุกเบิกธงสัญลักษณ์สีรุ้ง
สัญลักษณ์ของธงรูปสีรุ้งที่เป็นตัวแทนของ LGBTQ หรือ Pride Month นั้นมีผู้บุกเบิกก็คือ กิลเบิร์ต เบเคอร์ (Gilbert Baker) ศิลปินอิสระชาวอเมริกันเป็นคนออกแบบและสร้างธงสีรุ้งนี้ขึ้นเพื่อเป็นสัญลักษณ์ของกลุ่มผู้เป็นเพศทางเลือก ซึ่งได้เสียชีวิตลงอย่างสงบในวัย 65 ปีแล้ว
More Color More Pride ⎯ ทำไมต้องเป็นธงสีรุ้ง?

ทำไมถึงต้องเป็นสีรุ้ง? เพราะสีรุ้งเป็นสีที่สามารถบอกความหลากหลายทางเพศได้ดีที่สุด และหากถอยหลังกลับไปในปี 2521 ธงสีรุ้งแบบแรกถูกออกแบบมาทั้งหมด 8 สี ต่อมาภายหลังได้มีการลดจำนวนสีบนธงเหลือเพียง 6 สี โดยสีที่ถูกตัดออก คือ สีชมพู Hot pink และสีฟ้า Turquoise เนื่องจากเป็นสีที่มีความพิเศษ ทำให้ยากต่อการผลิต โดย 6 สีนี้ ยังคงความหมายที่ลึกซึ้งในแต่ละสีอยู่ ดังนี้
สีแดง – เปรียบเหมือนชีวิต
สีส้ม – เปรียบเหมือนการรักษาเยียวยา
สีเหลือง – เปรียบเหมือนแสงอาทิตย์
สีเขียว – เปรียบเหมือนธรรมชาติ
สีน้ำเงิน – เปรียบเหมือนความกลมกลืน
สีม่วง – เปรียบเหมือนจิตวิญญาณมนุษย์
‘ธงสีรุ้ง’ จึงกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมกันของกลุ่มผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ ภายใต้การออกแบบของ กิลเบิร์ต เบเกอร์ (Gilbert Baker) ศิลปินชาวอเมริกันและนักขับเคลื่อนสิทธิมนุษยชนของเกย์ในปี 1978 โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากธงชาติของประเทศสหรัฐอเมริกาในวาระฉลองครบรอบ 200 ปี
LGBTQIAN+ ย่อมาจากอะไร?
สำหรับความหมายของ LGBTQIAN+ นั้นย่อมาจากคำเรียกเพศวิถีต่างๆ ที่มีความหลากหลาย จากเดิมที่มีตัวอักษร “LGBT” แค่ 4 ตัว แต่ต่อมาได้ใส่ + เข้าไป เพื่อสื่อถึงความหลากหลายที่เพิ่มเข้ามา กระทั่งได้เพิ่มตัวอักษรเข้าไปอีก 4 ตัว กลายเป็น LGBTQIAN+ ในปัจจุบันนั่นเอง โดย คำย่อในปัจจุบัน มาจากคำดังต่อไปนี้

- L : Lesbian คือ ผู้หญิงที่รักผู้หญิง
- G : Gay คือ ผู้ชายที่รักผู้ชาย
- B : Bisexual คือ กลุ่มคนที่รักได้ทั้งเพศชายหรือหญิง (เพศเดียวกันหรือเพศตรงข้ามก็ได้)
- T : Transgender คือ กลุ่มคนที่เปลี่ยนเพศของตัวเอง ไปเป็นเพศตรงข้าม
- Q : Queer คือ กลุ่มคนที่ไม่จำกัดเพศใดๆ โดยไม่เกี่ยวกับเพศสภาพ
- I : Intersex คือ กลุ่มคนที่ไม่สามารถระบุเพศได้ เนื่องจากโครงสร้างร่างกาย เช่น โครโมโซมเพศ
- A : Asexual คือ กลุ่มคนที่ไม่รู้สึกดึงดูดทางเพศกับผู้อื่น
- N : Non-binary คือ กลุ่มคนที่ไม่ต้องการจัดหมวดหมู่เรื่องเพศ
- Plus (+) คือ กลุ่มบุคคลอื่นๆ ที่มีความหลากหลายทางเพศ นอกเหนือจาก LGBTQIAN+
✦✦✦
ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติม:
– http://www.sfpride.org/
ขอบคุณที่มาและอ้างอิง:
– https://www.princsuvarnabhumi.com/articles/Pride-Month
– https://marketeeronline.co/archives/309780
– https://www.zipeventapp.com/blog/2020/06/05/pride-month-lgbt/
ชวนดู 12 หนัง LGBTQ+ ต้อนรับ Pride Month
เดือนแห่งความหลากหลายทางเพศ
#PrideMonth2025 แน่นอนว่าเราก็ไม่พลาดที่จะเตรียมตัวต้อนรับ Pride Month กันอย่างอบอุ่น วันนี้เราเลยแวะมาชวนทุกคนไปดู 12 หนัง LGBTQ+ ที่บอกกล่าวถึงเรื่องราวความหลากหลายทางเพศกัน ไม่รอช้าไปดูกันดีกว่าว่าจะมีเรื่องไหนบ้าง!

│
✦ 6 บริการด้านอีเว้นท์ครบวงจร ตอบโจทย์ผู้จัดงาน ✦
เราเข้าใจทุกเรื่องของ อีเว้นท์ ให้เราช่วยคุณ !

สนใจบริการด้านอีเว้นท์ครบวงจร ติดต่อเรา!
E-mail: sales@zipeventapp.com / Call: 020385150 / Inbox FB: Zipevent
Website: https://www.zipeventapp.com/home/organizer
Follow us for more interesting content!
ฝากถึงพี่น้อง แฟนๆ ที่เคารพรักทุกท่าน ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย จิ้มๆ
- Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
- Website: www.zipeventapp.com
- Instagram: @Zipevent
- Facebook: @Zipevent
- Twitter: @Zipevent
- Tiktok: @Zipeventapp
- LINE TODAY: Zipevent
- YouTube: Zipevent
- Blockdit: @Zipevent