Trending Now

ความเชื่อของแต่ละคนก็มีความแตกต่างกันออกไป บางอย่างที่เราเชื่อ แต่เพื่อนของเราอาจจะไม่ได้เชื่อเหมือนกันกับเราก็ได้ หรือในบางครั้งเราก็ต้องลองเก็บความไม่เชื่อไว้สักหน่อย เผื่อว่าเราจะได้เห็นโลกในแง่มุมใหม่ๆ เหมือนกับนิทรรศการ Willing Suspension of Disbelief ที่อยากจะให้ทุกคนได้แขวนความไม่เชื่อไว้ชั่วขณะ

Willing Suspension of Disbelief

นิทรรศการจงใจแขวนความไม่เชื่อเอาไว้ชั่วขณะโดย สถิตย์ ศัสตรศาสตร์ ได้รับความร่วมมือจาก

  • ไอศ์ริน สิริวัฒน์ธนกุล, ณัฐพล พันธุนรากุล และ กรินทร์ พิศลยบุตร
  • ศิลปินรับเชิญ เยนส์ เปโช, ปรัชญา พิณทอง และ ปฐมพล เทศประทีปหนังสือรวมบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์ที่จะตีพิมพ์ในอนาคตโดยนักเขียนรับเชิญ นฆ ปักษนาวิน, ปิติพน ตันสุวรรณโสภณ, พนปิติ ตันสุวรรณโสภณ และนักเขียนเพิ่มเติมอีกสามสี่ท่าน
  • ร่วมคัดสรรนิทรรศการ โดยแคทลีน ซือหมิง แพน

ผมแขวนรูปบนกำแพง แต่แล้วก็กลับลืมไปว่าตรงนั้นไม่มีกำแพง – จอร์จ เปเร็ค

หนึ่งในคำพูดในหนังสือของจอร์จ เปเร็ค ที่พูดยกขึ้นมาเพื่อเปรียบความเชื่อผสมเข้ากับความเคยชินจนเกิดเป็นความไม่เชื่อแบบชั่วขณะ เพราะเราจะรู้สึกถึงพื้นที่ที่ๆ หนึ่งนั้นก็ต่อเมื่อมีสิ่งที่ดึงดูดสายตาเรานั่นเอง

มากไปกว่านั้นในหนังสือได้สื่อถึงการวาดพื้นที่ที่อยู่อาศัยที่เราคุ้นเคย และวิธีที่เรามองพื้นที่เหล่านั้น เพราะพื้นที่เป็นองค์ประกอบสำคัญในการศึกษาชีวิตประจำวัน แต่ไม่ได้หมายถึงธรรมชาติหรือว่าความเป็นจริงของจักรวาลเพียงแค่เท่านั้น และในหลายๆ ครั้งกลับเป็นอุปลักษณ์อย่างหนึ่งที่ต้องทำหน้าที่นั้นแทน ในระยะเวลาหนึ่งปีที่ไม่มีความแน่นอน และความล้มเหลวเป็นเหตุการณ์ปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวัน ในฐานะที่เราเป็นประชาชนเราได้รับผลกระทบอะไรบ้าง สิ่งนี้เป็นสิ่งที่เราต้องไปร่วมกันหาคำตอบ…

*** นิทรรศการจงใจแขวนความไม่เชื่อเอาไว้ชั่วขณะจะมีลักษณะเหมือนกำลังสร้างและมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ไม่มีรูปแบบตายตัว

อาการของการ “จงใจแขวนความไม่เชื่อเอาไว้ชั่วขณะ” คือการที่เราจงใจที่จะเลี่ยง ไม่ใช้ความคิดวิเคราะห์หรือการใช้หลักตรรกะเหตุผลมาตรวจสอบสิ่งมีชีวิตที่มีลักษณะเหนือจริง เช่น บันเทิงคดีวิทยาศาสตร์หรืองานที่ออกไปในเชิงคาดคะเน (speculative work) เพื่อที่จะได้เพลิดเพลินไปกับงานเหล่านี้เพียงอย่างเดียว

นิทรรศการนี้ศิลปินอย่าง สถิตย์ ศัสตรศาสตร์ จึงได้แรงบันดาลใจมาจากสถาปัตยกรรมและโครงสร้างอันเป็นสิ่งก่อสร้างของมนุษย์ในเชิงบันเทิงคดีวิทยาศาสตร์หลายเรื่อง รวมถึงทั้งพื้นที่อันถูกปลูกสร้างขึ้นเพื่อผู้อยู่อาศัย ที่จะเห็นได้ว่าตัวศิลปินพยายามกระตุ้นให้มีการเปิด “พื้นที่” ในนิทรรศการนี้มากแค่ไหน

นิทรรศการนี้ถือเป็นอีกพื้นที่แห่งการปลดปล่อย ดังนั้นเราจะเห็นได้ถึงโครงสร้างอันบิดเบี้ยวถูกจัดวางอย่างโดดเด่นไว้ตรงกลางพื้นที่ของแกลเลอรี ทำให้เกิด “ห้อง” ที่ไร้กำแพง พื้นที่ที่ไร้การกักขัง โครงสร้างเหล่านั้นได้ถูกสร้างสรรค์ร่วมกับ สถาปนิก sp/n ที่นอกจากเราจะได้พบเจอกับโครงสร้างที่บิดเบี้ยวแล้ว เราก็จะเจอแมว (ที่สร้างสรรค์ร่วมกับ กรินทร์ พิศลยบุตร) สัตว์ที่อาศัยอยู่บ้านมากกว่ามนุษย์ และมันมักจะอยู่ตามมุมที่พวกมันชื่นชอบ และแน่นอนว่าบิดเบี้ยวเช่นกัน (ก็เพราะว่าแมวเป็นของเหลว)…นอกจากนี้ศิลปินรับเชิญอันได้แก่ เยนส์ เปโช ปรัชญา พิณทอง และ ปฐมพล เทศประทีป ที่จะนำเสนอผลงานบนหิ้งหรือฐานที่สร้างสรรค์โดยสถิตย์ ศัสตรศาสตร์

นิทรรศการนี้เกิดขึ้นจากความจงใจที่เป็นกระจกสะท้อนความจริงของสังคมในปัจจุบันที่เราได้อาศัยอยู่ อีกทั้งนิทรรศการนี้เป็นนิทรรศการที่ส่งเสริมผู้ชมให้พิจารณาสิ่งรอบตัวใหม่ๆ นอกเหนือจากการยอมรับพื้นที่ที่สังคมจัดมาให้ในฐานะที่เป็นเจ้าของร่วมพื้นที่แต่เพียงเท่านั้น

สถิตย์ ศัสตรศาสตร์ ได้ไปเรียนและอาศัยอยู่ในเยอรมนีเป็นเวลาเกือบ 10 ปี ดังนั้นนิทรรศการนี้จึงเป็นงานแสดงเดี่ยวครั้งแรกของเค้าที่จัดขึ้นที่กรุงเทพฯ นิทรรศการนี้จะเป็นการบอกเล่าเรื่องราวใหม่ๆ ในดินแดนบ้านเกิด และได้ร่วมแบ่งปัน พัฒนา “พื้นที่” ไปด้วยกันกับเพื่อนศิลปินท่านอื่นๆ ด้วย

ไปเจอกันได้ที่งานนิทรรศการ Willing Suspension of Disbelief – นิทรรศการที่อยากจะหยุดความไม่เชื่อไว้ชั่วขณะ

  • สถานที่จัดแสดง: แกลเลอรี่ เวอร์
  • วันนี้ – 25 ธันวาคม 2563
  • งานเปิดนิทรรศการ: 28 พฤศจิกายน 2563

เตรียมตัวหาวันชวนเพื่อนไปดูนิทรรศการนี้เลย ไปดูกันว่าเราจะหยุดความไม่เชื่อไว้ชั่วขณะได้ยังไง สำหรับใครที่ไปงานนี้มาแล้วก็อย่าลืมมาเล่าให้เพื่อนๆ ชาวซิปฟังกันด้วยนะว่าเป็นอย่างไรกันบ้าง ใครที่ไม่อยากพลาดงานนิทรรศการดีๆ แบบนี้ก็ติดตามซิปอีเว้นท์ไว้เลย ไม่มีพลาดแน่นอน!


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 

  • Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
  • Instagram: @Zipevent
  • Website: www.zipeventapp.com
  • Twitter: @Zipevent
  • Facebook: @Zipevent

Comments

comments