Trending Now

หลังจากที่กระแสของการกักตัวที่เคยเกิดขึ้นในอดีตเนื่องด้วยสถานการณ์โรคระบาดอย่างเชื้อไวรัสโคโรน่า (โควิด-19) จึงทำให้ต้องมีการอยู่บ้านเพื่อหยุดเชื้อกันสักระยะนึง ทำให้เกิดปรากฏการณ์เศรษฐกิจฝืดเคือง อุตสาหกรรมต่างๆ ต้องหยุดชะงักเลยต้องมีการปรับตัวแก้ไขกันยกใหญ่ ซึ่งรวมไปถึงอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวด้วย

และหลังจากการปลดล็อกดาวน์นั้นก็ยิ่งทวีความเก็บกดของผู้คนที่ต้องอยู่บ้านเป็นเวลานาน จึงทำให้มีเทรนด์เทรนด์หนึ่งกลับมามีบทบาทมากขึ้น ซึ่งถ้าจะให้พูดตามความเป็นจริงแล้วนั้น เทรนด์นี้เคยเป็นกระแสอยู่สักพักนึงมาก่อนแล้วเมื่อปีที่ผ่านมา แต่ก็ได้กลับมาเป็นที่จับจ้องในขณะนี้เพิ่มขึ้นเนื่องจากผู้บริโภคได้ห่างหายจากการท่องเที่ยวมาเป็นเวลานาน ซึ่งเรากำลังพูดถึงเทรนด์พักร้อน นอนเมือง หรือที่เรียกกันว่า Staycation นั่นเอง

Staycation

โดยคำนี้นั้นมีรากศัพท์มาจากคำว่า

  • Stay – ที่แปลว่าการพักอยู่กับที่ที่หนึ่ง
  • Vacation– หมายถึงการออกไปพักผ่อน

ที่มาของเทรนด์นี้

ไลฟ์สไตล์แบบนี้เริ่มแพร่กระจายในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ.2007-2008 จากวิกฤติสินเชื่อซับไพรม์ที่ทั่วโลกรู้จักกันในชื่อ Hamburger Crisis จนผู้คนต้องประหยัดค่าใช้จ่าย และหันมาเที่ยวในประเทศ หรือเที่ยวในเมืองที่อาศัยอยู่แทน ถัดจากนั้นราวหนึ่งปี เทรนด์ดังกล่าวก็ขยายตัวมายังเกาะอังกฤษด้วยสาเหตุเดียวกัน ก่อนจะกระจายตัวไปสู่ยุโรปและประเทศอื่นๆ กระทั่งศัพท์คำนี้ได้รับการบรรจุไว้ในดิกชันนารีของ Merriam-Webster’s Collegiate ในปี 2009

หากให้พูดง่ายๆ Staycation คือเปรียบเหมือนเป็นการพักผ่อนในแบบที่เราจะได้ออกไปเที่ยว และได้พักไปในตัว ประชาชนเริ่มมองหาการพักผ่อนโดยไม่จำเป็นที่จะต้องใช้เงินเพื่อเป็นการรัดเข็มขัดให้กับตัวเอง และในขณะเดียวกันก็ยังได้มีเวลาผ่อนคลายความเหนื่อยล้าจากการทำงานได้อีก

Staycation

และเนื่องจากสถิติเมื่อต้นปี 2560 เว็บไซต์บริการด้านการท่องเที่ยวออนไลน์อย่าง ‘เอ็กซ์พีเดีย’ ได้เปิดเผยข้อมูลวิจัยเกี่ยวกับพฤติกรรมการลาพักร้อนของนักท่องเที่ยวประจำปี 2560 โดยสำรวจกลุ่มคนวัยทำงานจำนวน 15,000 คน ใน 30 ประเทศทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย คนส่วนใหญ่จากหลายประเทศร้อยละ 80-90 บอกว่า การลาพักร้อนทำให้พวกเขารู้สึกมีความสุขมากขึ้น 

แต่ก็ต้องมาหยุดชะงักเพราะเหตุการณ์โรคระบาด จึงทำให้รัฐบาลต้องเข้ามาช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของประเทศไทย และออกมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ที่ประกอบไปด้วย

  • มาตรการเติมเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐให้ประชาชน 14 ล้านคน คนละ 1,500 บาท (เดือนละ 500 บาท ระหว่างเดือนตุลาคม – เดือนธันวาคม) โดยกระทรวงการคลังได้จ่ายงวดแรกไปแล้วเมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2563
  • มาตรการคนละครึ่ง กระตุ้นการใช้จ่าย โดยประชาชนจ่ายครึ่งหนึ่ง รัฐบาลช่วยออกอีกครึ่งหนึ่ง วันละ 150 บาทต่อคน รวม 3,000 บาท ตลอดโครงการ (จำกัด 10 ล้านสิทธิ) เริ่มลงทะเบียนร้านค้าและผู้ประกอบการรายย่อยที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เมื่อวัน 1 ตุลาคม 2563 และเปิดให้ผู้ที่ต้องการเข้าร่วมโครงการลงทะเบียนในวันที่ 16 ตุลาคม 2563 และเมื่อได้รับสิทธิ์แล้วจะสามารถใช้จ่ายได้ระหว่าง 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563 โดยสามารถลงทะเบียนได้ที่ www.คนละครึ่ง.com
  • มาตรการช้อปดีมีคืน ประชาชนนำค่าใช้จ่ายซื้อสินค้ามาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดไม่เกิน 30,000 บาท เริ่ม 23 ตุลาคม – 31 ธันวาคม 2563 ทั้งนี้ผู้ที่เข้าร่วมโครงการดังกล่าวจะต้องไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิ์ในมาตรการ “คนละครึ่ง” และ “มาตรการเติมเงินในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ” โดยมีสินค้าและบริการที่ไม่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ เช่น เครื่องดื่มแอลกอฮอล์, บุหรี่, ค่าน้ำมัน, ค่ารถยนต์ รถจักรยานยนต์ และเรือ, ค่าหนังสือพิมพ์และนิตยสารทั้งรูปแบบตีพิมพ์และรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์, ค่าบริการนำเที่ยวและค่าโรงแรมที่พัก 

*ลงทะเบียนก่อนมีสิทธิ์ก่อน

เอาเป็นว่าถ้าหากใครที่กำลังเหน็ดเหนื่อยและอยากที่จะพักผ่อนแล้วล่ะก็ เราอยากให้ออกไปพักผ่อนหย่อนใจ แล้วตอนนี้ก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะมากระตุ้นเศรษฐกิจการท่องเที่ยวของไทยที่ฝืดเคืองให้ดียิ่งขึ้นด้วยการออกไปเที่ยว…แล้วเราไป Staycation กันนะ 🙂


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 

  • Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
  • Instagram: @Zipevent
  • Website: www.zipeventapp.com
  • Twitter: @Zipevent
  • Facebook: @Zipevent

Comments

comments

Author

Nothing really goes away