Trending Now

ใครที่ไปในพื้นที่เสี่ยง หรือมีความเสี่ยงในการติดเชื้อไวรัส โควิด-19 จำเป็นต้องทำการกักตัวเพื่อความปลอดภัยของผู้อื่น แน่นอนว่าคือการทำ Social Distance หรือระยะห่างทางสังคม ซึ่งอาจทำให้เกิดความลำพัง หว่าเหว่ และเหงา ปนเศร้า และในระหว่างการอยู่คนเดียวนี้ แล้วเกิดมีอาการ เราต้องทำตัวอย่างไรบ้างนะ?

โควิด-19
Photo by tam wai on Unsplash

จากกรณีที่ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ได้รายงานข่าวกรณีการติดเชื้อไวรัส COVID-19 ถึงจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาลในประเทศไทย ที่มียอดผู้ป่วยติดเชื้อรวมสะสมเพิ่มขึ้น และในจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มนั้น ได้แบ่งเป็น 2 กลุ่มดังนี้

กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ 
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มผู้เดินทางจากต่างประเทศ และเป็นผู้มีประวัติเดินทางกลับจากท่องเที่ยวในต่างประเทศ รวมไปถึงกลุ่มผู้ทำงาน หรืออาศัยในสถานที่แออัดต้องใกล้ชิดคนจำนวนมาก 

โควิด-19
Photo by Mark Claus on Unsplash

หากไม่ใช่กลุ่มเสี่ยง หรือผู้ที่ยังไม่มีอาการโรคระบบทางเดินหายใจ ให้สังเกตอาการตัวเองที่บ้าน โดยปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข เรื่องการรักษาระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) อย่างเคร่งครัด เพื่อให้เจ้าหน้าที่ได้ตรวจหาเชื้อในผู้ที่มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจก่อน และยังเน้นย้ำว่าการตรวจเชื้อขณะที่ไม่มีอาการโอกาสพบเชื้อน้อยมาก ทำให้คนที่ตรวจแล้ว อาจเกิดความเข้าใจผิดคิดว่าตัวเองไม่ติดเชื้อ และออกไปมีกิจกรรมทางสังคมส่งผลต่อระบบการเฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมโรค

โควิด-19
Photo by Kate Trifo on Unsplash

จากการรายงานกรณีมีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวน ต้องเฝ้าระวังที่มีจำนวนเพิ่มขึ้นจำนวนมาก ซึ่งอาจจะเพิ่มขึ้นในอนาคตด้วย วันนี้จึงมาพร้อมกับแนวทางการเฝ้าระวังอาการป่วยในช่วงการกักกันว่ามีอะไรบ้าง

  1. วัดอุณหภูมิร่างกายตัวเองทุกวัน
  2. บันทึกในรายงานทุกวัน ยิ่งถ้าไปไหน หรือเจอใคร บันทึกให้หมด
  3. สังเกตอาการไข้ น้ำมูก เจ็บคอ หายใจลำบาก ครั่นเนื้อครั่นตัว และอื่นๆ
  4. หากมีอุณหภูมิร่างกาย 37.5 องศาขึ้นไปอย่าตกใจ เราอาจเป็นไข้หวัดธรรมดา
  5. พบอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่ง แจ้งให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่ทราบทันที
โควิด-19
Photo by Tedward Quinn on Unsplash

ในระหว่างนี้ หากมีอาการเข้าข่ายเสี่ยงที่จะติดเชื้อไวรัส โควิด-19 ก็ยังสามารถเข้ามาทำแบบประเมินอาการด้วยตัวเองได้ที่นี่ http://covid19.thaitechstartup.org/ โดยผลการประเมินจะแบ่งระดับความเสี่ยงออกเป็น 3 ระดับ เมื่อระบบประเมินว่ามีความเสี่ยงสูง ทางทีมงานจะประสานกับทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาแนวทางในการให้ความช่วยเหลือในขั้นตอนต่อไป


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย 

  • Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
  • Instagram: @Zipevent
  • Website: www.zipeventapp.com
  • Twitter: @Zipevent
  • Facebook: @Zipevent

Comments

comments