Trending Now

เชื่อว่าในสถานการณ์แบบนี้คงไม่มีใครอยากออกจากบ้านไปไหนกันอยู่แล้ว
ยิ่งเป็นสถานที่แออัดด้วยแล้ว ยิ่งไม่อยากเสี่ยงกับเชื้อ โควิด-19 แต่สำหรับใครที่เลี่ยงการเข้าไปอยู่ในพื้นที่แออัดไม่ได้ล่ะ เราควรทำตัวยังไงดี?

แบบไหนถึงเรียก พื้นที่แออัด

ก่อนอื่น มาทำความเข้าใจกันก่อนว่าสถานที่แบบไหน ที่เรียกว่า ‘พื้นที่แออัด’ ?
ให้นึกภาพง่ายๆ ตาม พื้นที่แออัดที่เราพูดถึงนี้คือพื้นที่ที่คนมารวมตัวกันจำนวนมาก มีระยะใกล้ชิดกัน อย่างเช่น ลิฟท์ รถสาธารณะทั้งรถใต้ดิน รถไฟฟ้า และรถเมล์ รวมไปถึงงานคอนเสิร์ต การสัมนาในห้องประชุม สนามมวย ฟิตเนส หรือโรงภาพยนตร์ เป็นต้น ทั้งหมดนี้ เราเรียกว่า พื้นที่แออัด

โควิด-19 พื้นที่แออัด
Photo by Ryoji Iwata on Unsplash

ส่วนพื้นที่ที่อาจจะมีเชื้อโรค แต่ไม่มีคน หรือเคยมีคน เราจะเรียกว่า พื้นที่เสี่ยง อาจจะเช่น สนามบินที่ตอนนี้คนน้อยแล้ว ไม่ได้โดนแสงแดด หรือผ่านการฆ่าเชื้อ และพวกที่จัดงานอีเว้นท์ ห้างสรรพสินค้า โรงภาพยนตร์ ระบบขนส่งสาธารณะ ที่เราจะบอกว่าตอนนี้คนน้อยแล้ว ดูเหมือนปลอดภัย แต่จริงๆ แล้วถ้าไม่ได้มีการฆ่าเชื้อก็ไม่อาจวางใจได้ รวมถึงสถานบันเทิงต่างๆ และอีกหลายๆ แห่ง ที่เคยมีคนเยอะๆ ก็ล้วนแล้วแต่ เป็นพื้นที่เสี่ยงทั้งสิ้น

เมื่อต้องออกไปพื้นที่แออัด ทำยังไงดี

วิธีการดูแลตัวเองนั้น ขั้นพื้นฐานที่ทุกคนควรทำเมื่อต้องออกจากบ้านไปจนถึงการสังเกตการณ์ผู้อื่นด้วย จะมีวิธีไหนบ้างมาดูกันเลย

1. สวมหน้ากากอนามัยก่อนออกจากบ้าน โดยล้างมือด้วยสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ก่อน และหลังใส่ทุกครั้ง ควรเลือกใช้หน้ากากอนามัย ที่มีการป้องกันไวรัส สำหรับใครที่มีหน้ากากแบบผ้า ก็อาจจะต้องหาแผ่นกรองมาอีกที ซึ่งก็ต้องยอมรับว่าหายาก ทั้งหมดเลย ช่วงนี้ แต่ก่อนใส่ หลังใส่ก็ควรล้างมือ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ด้วย

2. ล้างมือบ่อยๆ ด้วยน้ำและสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ แต่แน่นอนว่า ถ้าต้องไปในที่ที่พบปะผู้คนจำนวนมาก แล้วไม่มีห้องน้ำให้ล้างมือ หรือล้างมือด้วยน้ำเปล่าโดยปราศจากสบู่ ก็ไม่เกิดผล แนะนำให้พกเจลแอลกอฮอล์ จะสะดวกกว่าและสามารถใช้ได้ตลอด ในกรณีที่มีคนมาขอเจลแอลกอฮอล์เรา เราเองต้องเป็นคนที่ไปบีบให้เขานะ เพราะไม่ควรให้มีมือใครๆ มาจับขวด กระปุกเจลแอลกอฮอล์ของเรา

3. เว้นระยะห่างกับผู้อื่นเพื่อป้องกันการติดเชื้อหรือแพร่เชื้อ อันนี้อยากให้ทุกคนทำกันจริงจังมากๆ แม้แต่คนในบ้าน เพราะเราไม่สามารถควบคุมได้ว่า คนในบ้าน ไปพบเจอใครมาบ้าง หรือไปสัมผัสอะไรมาบ้าง ตอนนี้ของใช้ส่วนตัว ก็ต้องส่วนตัวจริงๆ ไม่มีอะไรที่ใช้ร่วมกับคนอื่นๆ เลย

4. ใช้มือสัมผัสสิ่งของสาธารณะให้น้อยครั้งที่สุด เพื่อป้องกันไม่ให้มือสัมผัสโดนเชื้อแล้วเผลอมาจับใบหน้า เพราะอาจทำให้ไวรัสเข้าสู่ร่างกายได้ หากต้องกดลิฟท์ให้เลี่ยงไปใช้ศอกกดแทน หรือหากต้องจับราวบนสาธารณะ ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า รถใต้ดิน ให้ใช้ผ้ารองจับแทน และล้างมือด้วยเจลแอลกอลฮอล์ทุกครั้งเมื่อจับเสร็จ

5. สังเกตผู้คนรอบตัว หากมีใครที่มีอาการไข้ ไอ จาม มีน้ำมูก ผิดปกติ ควรแนะนำให้ผู้มีอาการติดต่อเจ้าหน้าที่ เพื่อขอรับหน้ากากอนามัยมาสวมใส่ และเข้ารับการตรวจรักษาตามขั้นตอนของโรงพยาบาลต่อไป

โควิด-19 พื้นที่แออัด
Photo by Frida Aguilar Estrada on Unsplash

มาตรการการ และคำแนะนำในการป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากกระทรวงสาธารณสุข

ในวันนี้ นอกจากแนวทางพื้นฐานแล้ว ยังมีมาตรการการและคำแนะนำในการป้องกันตัวเองจากเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) จากกระทรวงสาธารณสุขมาฝากด้วยดังนี้ 

มาตรการการป้องกันควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับสถานที่ที่มีการรวมกันของคนหมู่มาก คลิกที่นี่

คำแนะนำ การป้องกันควบคุมโรคไวรัสโคโรนา 19 (COVID-19) สำหรับการจัดประชุม สัมนา หรือกิจกรรมอื่นๆ ที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน คลิกที่นี่

ส่วนใครที่กำลังไม่สบายและไม่มั่นใจว่าตัวเองอยู่ในอาการเสี่ยงติด COVID-19 ไหม 
ลองมาคัดกรองอาการตัวเองในเบื้องต้น ได้ที่นี่ http://covid19.thaitechstartup.org/
หากได้ผลลัพธ์ว่ามีความเสี่ยง ทางทีมงานจะประสานกับทีมแพทย์เพื่อให้ความช่วยเหลือในลำดับต่อไป

อ่านจบกันไปแล้ว สำหรับใครที่อาจจะต้องไปที่ที่แออัด หรือมีความเสี่ยง หรือต้องออกไปนอกบ้าน นอกห้องของตัวเอง ก็ควรทำตามขั้นตอนต่างๆ อย่างเคร่งครัด รวมถึง การสังเกตอาการของคนรอบตัวเรา ก็เป็นสิ่งที่ควรรู้ไว้ และเราจะมั่นใจมากน้อยแค่ไหน ว่าเราเองนั่นแหละ มีความเสี่ยงไหม ก็สามารถเช็กตามด้านบนได้เลย!


ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)
หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @Zipevent
Instagram: @Zipevent
Website: www.zipeventapp.com 
Twitter: @Zipevent 
Facebook: @Zipevent

Comments

comments