Trending Now

      หลายๆ คนคงได้ยินเกี่ยวกับงานศิลปะที่จะมาจัดในประเทศไทย เป็นที่ฮือฮากันยกใหญ่ นั้นก็คืองาน FROM MONET TO KANDINSKY และ ITALIAN RENAISSANCE ที่จัดขึ้นที่ อาร์ซีบี แกลเลอเรีย ชั้น 2 ริเวอร์ ซิตี้ แบงค็อก โดยจัดวันที่ 26 เมษายน – 31 กรกฎาคม และ 8 สิงหาคม – 31 ตุลาคม ตามลำดับ ทั้ง 2 งานให้เข้าชมเวลา 10:00 – 22:00 น.

ขอเล่าช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ก่อน

      เป็นช่วงเวลาที่วัฒนธรรมและสังคมกำลังเข้าสู่การปฏิวัติอย่างแท้จริง ที่ทุกปีเกิดสิ่งประดิษฐ์ใหม่ๆ เข้ามามีอิทธิพลต่อชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องเล่นแผ่นเสียง โรงภาพยนตร์ เครื่องพิมพ์ดีด ไฟฟ้า เครื่องบิน โทรศัพท์ เครื่องเอ็กซ์เรย์

      เป็นช่วงที่มีการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทั่วโลกก็ตื่นตระหนกไปกับความขัดแย้งทางการเมืองและสงคราม อันนำมาซึ่งกระแสทางศิลปะ (Art Movement) หรือกลุ่มลัทธิทางศิลปะต่างๆ เช่น กลุ่มลัทธิเอ็กซ์เพรสชั่นนิสม์ (Expressionism) ศิลปะนามธรรม (Abstract Art) กลุ่มลัทธิเซอร์เรียลลิสม์ (Surrealism) และกลุ่มลัทธิอนุตรนิยม หรือซูพรีมาติสม์ (Suprematism) และอื่นๆ ซึ่งทั้งหมดรวมเรียกว่า “ศิลปะสมัยใหม่” (Modern Art)

      ในเวลาต่อมา ผลงานจิตรกรรมของศิลปินในกลุ่มโมเดิน์นนิสม์มักเต็มไปด้วยรายละเอียดที่ซ่อนเร้นอยู่ซึ่งไม่อาจมองเห็นได้ด้วยตา จึงต้องเดินชมโดยรอบเพื่อเปิดประสบการณ์ในพื้นที่จัดแสดง ซึ่งแตกต่างจากนิทรรศการโดยทั่วไป เสมือนเป็นการปลุกภาพงานศิลปะให้กลับมามีชีวิตอีกครั้ง ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลเพราะเมื่อร้อยกว่าปีที่แล้วงานศิลปะของศิลปินกลุ่มโมเดิร์นนิสต์ คือ ผู้บุกเบิกอนาคตแห่งเทคโนโลยี

ย้อนกลับมายุค ITALIAN RENAISSANCE ยุคศตวรรษที่ 14-15

      ยุคนี้ เรียกว่ายุคเรอเนสซองส์ (Renaissance) เป็นยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรป หลังจากที่ได้ผ่านยุคกลางหรือยุคมืด (Medieval Age) ซึ่งกินระยะเวลายาวนานกว่าหนึ่งพันปี มีความสำคัญต่ออารยธรรมโลกไม่แพ้กัน

     คำว่า “Renaissance” เป็นภาษาฝรั่งเศส แปลว่า “การเกิดใหม่” (Rebirth) ในแง่ของศิลปะ ยุคนี้เต็มไปด้วยศิลปินผู้ยิ่งใหญ่และผลงานระดับมาสเตอร์พีซ ไม่ว่าจะเป็นภาพ Mona Lisa และ The Last Supper ของเลโอนาร์โด ดา วินชี (Leonardo da Vinci) ภาพวาดบนเพดานของโบส์ซีสทีน (The Sistine Chapel) อันตระการตาของไมเคิลแองเจโล (Michelangelo) ภาพวาดสามมิติบนฝาผนังหลายชิ้นที่นครรัฐวาติกันจากฝีมือของราฟาเอล (Rapahel) และภาพ The Birth of Venus ของบอตติเชลลี (Botticelli) 

Comments

comments