Trending Now

           ถ้าพูดถึงประเทศญี่ปุ่น นอกจากบ้านเมือง และวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว อีกหนึ่งสิ่งที่ต้องพูดถึงก็คือศิลปะในการออกแบบ – แบบญี่ปุ่น อะไรคือสิ่งที่ทำให้งานออกแบบของประเทศญี่ปุ่นส่งอิทธิพลในระดับโลก? หนึ่งในคำถามที่ต้องการคำตอบ และหลักพื้นฐานของการออกแบบในสไตล์ญี่ปุ่นคืออะไร วันนี้ Zipevent จะพามาหาคำตอบกัน

เริ่มจากการจับสิ่งรอบตัว มาทำให้เกิดเป็นศิลปะ และการออกแบบ

          ย้อนกลับไปในยุคประวัติศาสตร์และอารยธรรมของญี่ปุ่นที่มีมายาวนานกว่าหมื่นปี ผ่านทั้งยุคสมัยก่อนประวัติศาสตร์เรื่อยมาจนถึงช่วงที่ญี่ปุ่นปิดประเทศโดยใช้เวลากว่า 250 ปี ที่มีการแบ่งชนชั้นทางสังคมเกิดขึ้น อันเนื่องด้วยลักษณะทางภูมิประเทศของญี่ปุ่นที่เป็นเกาะทำให้เกิดลักษณะเฉพาะในการดำรงชีวิต จนเกิดเป็นปรัชญาแห่งเซน (Zen) ที่เป็นตัวการทำให้วิถีในการออกแบบมีแนวคิดในการหยิบจับเอาสิ่งรอบตัวมาทำให้เกิดเป็นผลงานศิลปะซะส่วนใหญ่ และสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ ข้าวของเครื่องใช้ที่จำเป็นต่างๆ ให้ตอบสนองตามความต้องการของแต่ละชนชั้นให้ต่างออกไป

ความเชื่อ ศาสนา ธรรมชาติ และการดำรงชีวิต

           จะเห็นได้ว่าปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการออกแบบของญี่ปุ่น นั้นสืบเนื่องมาจากความเชื่อ ศาสนา ความเคารพต่อธรรมชาติ การดำรงชีวิตตามลักษณะของฤดูกาลต่างๆ และการใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างรู้คุณค่า การตระหนักถึง ความสมถะ และความเรียบง่าย รวมไปถึงความงดงามอันเกิดจากกาลเวลา ความเงียบสงบ ความมีอิสระจากประเพณีนิยม ล้วนแต่เป็นแรงบันดาลใจให้เกิดเป็นการออกแบบ – แบบญี่ปุ่นขึ้นมา                 

           หลายๆ คนคงทราบอยู่แล้วว่าด้วยลักษณะนิสัยของชาวญี่ปุ่นที่เป็นชนชาติที่เปิดกว้างในการรับสิ่งใหม่ๆ เสมอจึงทำให้ประเทศญี่ปุ่นนั้นมีวัฒนธรรมที่หลากหลายผสมผสานรวมอยู่ด้วยกัน การออกแบบส่วนใหญ่จึงมาจากลักษณะนิสัยของคนในชาติ และมีความภูมิใจในวัฒนธรรมของตนเอง

รู้จักกับ วาบิ – ซาบิ (侘寂 , wabi-sabi) แนวคิดความงามในการออกแบบของญี่ปุ่น

           Wabi – Sabi (วาบิ – ซาบิ) หมายถึงความงามของสรรพสิ่งที่ไม่สมบูรณ์แบบ ไม่อยู่คงทนถาวร และไม่เสร็จสมบูรณ์ กล่าวคือสรรพสิ่งในโลกใบนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงไปตามระยะเวลา ซึ่งแนวคิดนี้มีรากฐานมาจากความเข้าใจในธรรมชาติของพุทธศาสนาแบบเซนที่มองเห็นว่าทุกสิ่งอย่างบนโลกนี้ย่อมมีการเปลี่ยนแปลง ไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ หรือสิ่งของ โดยพื้นฐานความงามของแนวคิดนี้เริ่มมาจากพิธีชงชาของชาวญี่ปุ่น เนื่องด้วยตัวเรือนชงชาที่สร้างจากวัสดุที่ไม่อยู่คงทนถาวร  

          จะเห็นได้ว่าอัตลักษณ์ที่สำคัญในการออกแบบของญี่ปุ่นคงหนีไม่พ้นแนวคิดความงามแบบวาบิ – ซาบิ เพราะเราจะสามารถพบเจอได้ทั่วไปในทุกพื้นที่ของญี่ปุ่น อาทิเช่น การทำเครื่องปั้นดินเผาที่เผยให้เห็นพื้นผิวดิบห่ามหยาบกร้าน การปล่อยให้สีของสิ่งทอต่างๆ ไม่สม่ำเสมอกัน (อันเป็นกระบวนการตามธรรมชาติ) ที่แสดงถึงความงามอย่างมีตำหนิที่ชัดเจน

Japanese Design Today 100

          แล้วถ้าพูดถึงสมัยนี้ล่ะ ถ้าการออกแบบ – แบบญี่ปุ่น นำแนวคิดพวกนี้มาแสดงในรูปแบบวิถีร่วมสมัยจะเป็นยังไง? รอพบกับนิทรรศการออกแบบ – แบบญี่ปุ่น Japan Design Today 100 ของชาวญี่ปุ่นที่เปิดทางให้จารีตแบบดั้งเดิมเดินทางไปพร้อมกับนวัตกรรมและการเชื่อมต่อกับโลกดิจิทัลผ่านตัวอย่างของการออกแบบที่ดีที่สุด ซึ่งเน้นไปที่ผลิตภัณฑ์ในชีวิตประจำวัน จำนวน 100 ผลงาน เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนของลักษณะงานดีไซน์ญี่ปุ่น และนำไปสู่การศึกษารูปแบบสังคม แนวคิดในการสร้างสรรค์งานที่เข้าใจความต้องการของผู้ใช้อย่างแท้จริง 

          นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” สัญจรไปจัดแสดงทั่วโลก ตลอดระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา และมีการปรับรูปแบบใหม่โดยรวบรวมการออกแบบสินค้าในปัจจุบันควบคู่ไปกับการออกแบบสมัยใหม่นับตั้งแต่ทศวรรษที่ 1950 ถึง 1990 ซึ่งเป็นช่วงที่มีอิทธิพลสำคัญต่อการออกแบบสมัยนี้ ภายในห้องนิทรรศการเสนองานออกแบบผลิตภัณฑ์ที่ใช้จริงในปัจจุบันจำนวน 89 ชิ้น และตัวแทนคาแรกเตอร์ดีไซน์ญี่ปุ่นอีก 11 ผลงาน ทั้งหมดถูดจัดกลุ่มตามประเภทการใช้งานจำนวน 10 กลุ่ม ยกตัวอย่างผลิตภัณฑ์ที่สะท้อนถึงความเข้าใจในวัสดุและนวัตกรรมที่เหมาะกับการใช้ชีวิตแบบคนญี่ปุ่นอย่างลึกซึ้ง

Japanese Design Today 100

          นิทรรศการ “ออกแบบ แบบญี่ปุ่น” Japanese Design Today 100 วันที่ 24 เมษายน 2562 – 26 พฤษภาคม 2562 / 10.30-21.00 น. / ห้องแกลเลอรี่ ชั้น 1 TCDC กรุงเทพฯ งานนี้ฟรี! (วันจันทร์)

อ้างอิง http://fdesignbasis.blogspot.com/2014/04/japan-design-1.htmlhttp://fdesignbasis.blogspot.com/2014/04/japan-design-2-wabi-sabi.htmlhttp://www.tcdc.or.th/articles/design-creativity/#ออกแบบ-อย่างไทย-ออกแบบ-อย่างไร–ตอนที่-1–ภาคทฤษฎี-

ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @ZipeventInstagram: @ZipeventWebsite: www.zipeventapp.comTwitter: @ZipeventFacebook: @Zipevent

Comments

comments

Author

Nothing really goes away