Trending Now

       แน่นอนว่าในการทำวิทยานิพนธ์ ทุกๆ คนจะต้องไปถึงจุดที่ต้องเลือกระหว่าง หัวข้อวิทยานิพนธ์ ที่ชอบ กับ อาจารย์ที่ปรึกษาที่ใช่ ซึ่งเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอยู่ประมาณหนึ่งในพันทิป กับปัญหาสุดคลาสสิค เวลาเจอหัวข้อที่ชอบ อยากทำ แต่ไม่มีอาจารย์ที่ปรึกษา และในทางตรงกันข้าม อาจารย์ที่ปรึกษาที่ชอบมากๆ แต่ท่านไม่ถนัดในหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่เราอยากทำ วันนี้ Zipevent ชวนมาดูข้อดีข้อเสีย และทางออกแบบ เคล็ด(ไม่)ลับทำวิทยานิพนธ์มาฝากกันด้วย

เลือก หัวข้อวิทยานิพนธ์ ที่ชอบ

       ถ้าเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ชอบ ถือเป็นเรื่องที่จะว่าถูกต้องก็ได้ เพราะ หัวข้อวิทยานิพนธ์ จะอยู่กับตัวผู้ทำวิทยานิพนธ์ไปอีกนาน และถ้าหากศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น อาจนำไปต่อยอดได้ ถ้าเลือกเรื่องที่เราชื่นชอบและสนใจตั้งแต่แรกแล้ว การทำวิทยานิพนธ์ก็จะเป็นสิ่งที่เราอยากทำ ไม่เครียดภายหลัง ซึ่งเส้นทางนี้ก็อาจจะมีข้อเสียตรงที่ อาจจะหาอาจารย์ที่ปรึกษายาก ยิ่งในระดับการศึกษาที่สูงมากๆ อาจารย์ที่ปรึกษาจะไม่รับหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ตัวเองไม่ถนัดอย่างแน่นอน โดยเราอาจจะทดแทนด้วยการหาอาจารย์ที่ปรึกษาที่เราสนิทแทน จะเป็นในลักษณะอาจารย์ที่ปรึกษาที่ช่วยชี้ทาง รวมถึงรับฟัง และช่วยออกความเห็น ก็ถือว่าดีมากๆ แล้ว

เลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่ชอบ

        การเริ่มต้นเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาที่ชอบ และดูว่าอาจารย์ที่ปรึกษาถนัดด้านไหน เพื่อสามารถปรับให้เข้ากันได้กับที่เราสนใจ ชอบ และทำได้ การเลือกแบบนี้ถือเป็นสิ่งที่ดี เพราะการทำวิทยานิพนธ์จะราบรื่น ถ้ามีปัญหาอะไรเกิดขึ้น อาจารย์จะคอยช่วยชี้นำ แนะนำ รับฟังทุกปัญหา และแก้ไข หรือทำให้เราเข้าใจได้อย่างรวดเร็ว เนื่องจากเป็นเรื่องที่อาจารย์ถนัดและเชี่ยวชาญอยู่แล้ว

ถ้าศึกษาอยู่ในระดับมหาบัณฑิต หรือ .โท

         การศึกษาระดับป.โท จริงๆ สามารถเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่สนใจก่อนได้ หรือ จะเลือกหัวข้อวิทยานิพนธ์ทีหลังก็ได้ โดยอิงจากอาจารย์ที่ปรึกษาที่ชอบอีกที เป้าหมายของการเรียน ป.โท ในมุมมองของอาจารย์ที่สอนคือ การทำให้ผู้เรียนทำวิจัยเป็น และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ไม่ว่าจะในด้านการทำงาน หรือเป็นข้อมูลที่มีประโยชน์ที่จะนำไปต่อยอดต่อไปได้

ในส่วนของระดับดุษฎีบัณฑิต หรือ .เอก

        ในความจริงแล้ว ผู้ที่ศึกษาในระดับดุษฎีบัณฑิต หรือ ป.เอก ต้องเคยทำวิทยานิพนธ์ในระดับ ป.โท มาแล้ว ดังนั้นในการเลือก สถาบันศึกษา หรือ เลือกอาจารย์ที่ปรึกษา ต้องมีการศึกษาค้นหาข้อมูลมาก่อนว่า อาจารย์ท่านไหน ทำการสอนที่สถาบันใด ที่มีความถนัด หรือเชี่ยวชาญในด้านที่เราสนใจ แล้วจึงเลือกศึกษาที่คณะนั้น สถาบันนั้น และเลือกอาจารย์ที่ปรึกษาท่านนั้น เป็นอาจารย์ที่ปรึกษาวิทยานิพนธ์

แนะนำงานสัมมนาวิชาการดีๆ มาฝาก

         คอร์ส “เคล็ด (ไม่) ลับกับวิทยานิพนธ์” จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 โดยถูกสร้างขึ้นมาจากประสบการณ์การทำ การสอน การลงพื้นที่วิจัย อีกทั้ง ดร.ปู (ผู้สอน) ยังมีประสบการณ์ตรงจากผู้เรียนที่เข้ามาเรียนกับพี่ปู ที่ผู้เรียนต้องร่วมคิด ร่วมแก้ปัญหาต่างๆ ในงานวิจัยของผู้เรียนเอง ดังนั้นเคล็ด (ไม่) ลับกับวิทยานิพนธ์รอบ 2 นี้ จึงอัดแน่นด้วยเนื้อหา เทคนิค โครงสร้าง หลักการเขียน ซึ่งผู้เรียนจะได้เรียนรู้กระบวนการวิจัยจากนักวิจัยตัวจริง เสียงจริง ผู้มีประสบการณ์จริง ดร.ธิติมา ไชยมงคล ( ดร.ปู ) โค้ชวิจัยคนแรกของประเทศไทย สนใจงานนี้คลิกที่นี่เพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่

ฝากติดตามข่าวสารงานอีเว้นท์กับ Zipevent ในช่องทางโซเชียลมีเดียต่างๆ ตามนี้เลย Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ)หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย @ZipeventInstagram: @ZipeventWebsite: www.zipeventapp.comTwitter: @ZipeventFacebook: @Zipevent

Comments

comments