Trending Now

ถ้าใครมีโอกาสได้ไปเดินงาน Bangkok Design Week 2019 แถวย่านเจริญกรุงที่ผ่านมาก็น่าจะมีโอกาสได้เห็น โทเท็ม ขนาดใหญ่ที่มีไฟกระพริบวิบวับโดดเด่นตั้งอยู่ในโกดัง Warehouse 30 สะดุดตาจนทำให้ใครหลายๆ คนต้องยกกล้องขึ้นมาเก็บภาพสวยๆ ไว้ ผลงานชิ้นนี้เป็นของบริษัท YIMSAMER (ยิ้มเสมอ) บริษัทผลิตผลงานมัลติมีเดียในเชิงของ Installation และ Visual Effect ที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์และการสื่อสารกับคน ผ่านการรวมเทคโนโลยีและงานดีไซน์เข้าด้วยกันในวันนี้เรามีโอกาสได้เข้ามาเยี่ยมเยียนออฟฟิศของยิ้มเสมอ เพื่อพูดคุยถึงที่มาที่ไปในการทำงานและเรื่องราวเบื้องหลังการออกแบบสุดยิ่งใหญ่เหล่านี้ อยากบอกว่าบรรยากาศเป็นกันเอง (มากกกก) พนักงานส่วนใหญ่คือเด็กรุ่นใหม่ที่มีความสนใจทั้งด้านงานอาร์ตและเทคโนโลยี บวกกับมีแพสชั่นที่อยากจะสร้างสรรค์ประสบการณ์ที่แปลกใหม่ ไม่ซ้ำใคร ให้สังคมได้เห็น ซึ่งออฟฟิศบ้านๆ ย่านเอกมัยแห่งนี้ก็เป็นที่ๆ รวมตัวของพวกเขาไว้ด้วยกัน

yimsamer

“With passion of creating experience and technology”

จากเด็กหลังห้องมาสู่ก้าวที่ใหญ่ขึ้น

จุดเริ่มต้นของยิ้มเสมอเกิดจากการที่เหล่า Co-founder เป็นเพื่อนสมัยเรียนด้วยกันที่มหาลัย เรียนบ้าง เล่นบ้าง (หนักๆ จะเน้นไปทางเล่น) จนได้มีโอกาสมาช่วยอาจารย์ทำงานประเพณีของคณะในการสร้าง Installation เพื่อให้เด็กๆ มาเต้นรอบๆ สิ่งๆ นี้ ซึ่งพวกเขาตั้งใจอยากจะฉีกความดั้งเดิมที่เคยๆ ทำกันมา ปรับนู่น เพิ่มนี่ ให้เข้ากับสไตล์ที่พวกเขาชื่นชอบและคิดว่าใช่ ทำงานเหล่านี้มาเรื่อยๆ จนเรียนจบและต้องตัดสินใจว่าจะเอาอย่างไรกันต่อ

ธนพงศ์ พานิชชอบ (เฟียต) Co-Founder/Managing Director, สิร วิวรรธนมาศ (ปั๊บ) Co-Founder/CFO, กฤษฎา พิสิฐศาสตร์ (ปกป้อง) Project Manager, ธนภัทร ธิตะจาร (ปอม) Visual & Motion Graphic Director

ปกติแล้วเราจะหาเรื่องที่ไม่ได้อยู่ในห้องเรียนทำกัน 12 คนกับเพื่อนๆ ไปเรื่อยเปื่อย ทีนี้ไปๆ มาๆ ก็ได้มารู้จักกับสิ่งที่เรียกว่า ‘Lighting Design’ ก็ได้ไปเรียนรู้ว่าสิ่งนี้มันคืออะไร มันน่าสนใจดีนะ ไปเรียนรู้เรื่องแสง เรื่องสีต่างๆ อีกอย่างคือพวกเราชอบในเรื่องของ entertainment ด้วย ก็เลยไปศึกษาดู ปรากฏว่า เฮ้ย.. มันสนุกดี ซึ่งนอกจากแสงสีเสียงมันก็มีเรื่องก่อสร้าง Installation เขียนโค้ด แล้วก็ทำ Interactive จนสุดท้ายจริงๆ เราก็รู้ว่าเราชอบในเรื่องของเทคโนโลยีและการออกแบบประสบการณ์ 

ด้วยความที่มีอะไรในหัวเยอะมาก พวกเขาจึงตัดสินใจกันว่าอยากจะปล่อยของ อยากจะลอง อยากจะทำตรงนี้ต่อไป จนสุดท้าย YIMSAMER ก็ได้เติบโตขึ้นมาจนถึงทุกวันนี้ ซึ่งยิ้มเสมอก็ได้บอกกับเราถึงเป้าหมายหลักๆ ที่พวกเขายึดไว้ในการทำงาน

• หาจุดตรงกลางระหว่าง สถาปนิก-วิศวกร 

เรามักจะได้ยินเรื่องของความขัดแย้งระหว่างสถาปนิกและวิศวกรมาโดยตลอดถ้ามีคนพูดถึงเรื่องการสร้างบ้านหรือสร้างตึกต่างๆ คนดีไซน์ก็ออกแบบตามใจฉัน ทำตามความชอบกันเต็มที่ โดยที่ลืมคิดถึงเรื่องความเป็นไปได้หรือเรื่องโครงสร้างที่ชาววิศวกรต้องมาคอยควบคุม … แต่ถึงอย่างไรก็ตามยิ้มเสมอกลับมีความเชื่อว่าคน 2 คนนี้มีจุดตรงกลางที่จะร่วมกันทำผลงานออกมาให้สำเร็จได้ แถมยังมองว่าปัญหานี้เป็นเรื่องสนุกที่พวกเขาพร้อมที่จะท้าทายและแก้ไข” เราพยายามที่เอาคนสองคนนี้มาปรับความเข้าใจกัน หาตรงกลางกันอย่างนิ่มนวล คืออย่างงานมันก็มีกระจุ๊กกระจิ๊กนะ ที่สถาปนิกมันก็ซน อยากสร้างตึกแต่ไม่มีเสา วิศวะก็เดินมา เอ้า.. ไม่มีเสาแล้วตึกจะอยู่ยังไง มันเป็นเรื่องที่ไปกลับ ไปกลับอยู่อย่างนี้ ซึ่งมันสนุกดีนะ เพราะสุดท้าย ความฝันของสถาปนิกมันก็ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ สิ่งที่วิศวกรอยากจะทำให้งานง่ายมันก็ไม่ได้ร้อยเปอร์เซ็นต์เหมือนกัน ตรงนี้มันเป็นสิ่งที่เมิร์จกันอยู่ แล้วมันน่าสนใจมาก 

• สร้างและขยายคอมมูนิตี้ 

เมื่อนำทั้งสองฝ่ายมารวมกันได้แล้ว สิ่งต่อมาที่พวกเขาต้องการจะทำคืออยากที่จะให้คอมมูนิตี้ศิลปะนี้มีจำนวนที่เยอะและใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เพราะเมื่อมีกลุ่มคนที่สามารถทำให้การออกแบบและการดีไซน์ในหัวออกมาเป็นผลงานจริงๆ ได้ ลูกค้าหรือผู้ผลิตในแวดวงอื่นๆ ก็จะมองเห็นคุณค่าของสิ่งๆ นั้น มีความคิดที่จะพัฒนาและใช้มันต่อไปในอนาคต

• ไล่ตามประเทศที่พัฒนาแล้วให้ทัน 

บางคนอาจจะเพิ่งเคยเห็นงานดีไซน์ประเภทนี้แล้วรู้สึกว้าวและประทับใจกับมันเพราะไม่เคยเห็นจากที่ไหนมาก่อน แต่จริงๆ ในประเทศเพื่อนบ้านที่พัฒนาแล้วเขาได้ผลิตผลงานด้านนี้ออกมาให้ผู้คนได้ดูกันมาหลายต่อหลายปีก่อนหน้าเราเยอะ ซึ่งประเทศไทยอาจจะยังไม่ได้มีให้ได้เห็นกันมากนัก ยิ้มเสมอ จึงมีความตั้งใจที่จะไล่ตามประเทศเหล่านั้นให้ทัน” เราเพียงแค่หวังว่าเราจะสามารถลดระยะเวลา ช่วงเวลาสิบถึงยี่สิบปีที่เราห่างจากประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง ญี่ปุ่นหรืออเมริกา ให้มันสั้นลงจนเทียบเท่าหรือทันให้ได้ จนวันนี้ ในมุมมองทีมเรานะ เราว่ามันก็ร่นมาเกือบทันแล้ว

ได้อ่านมาถึงขนาดนี้แล้ว เพื่อนๆ น่าจะอยากเห็นผลงานที่พวกเขาได้ผลิตออกมากันแล้วใช่มั้ยล่ะ ? ไปดูกันเลยดีกว่าว่างานของพวกเขา จะทำให้เรา ว้าววว! กันขนาดไหน 

yimsamer

ดูเพิ่มเติมได้ที่ Youtube

โกอินเตอร์ถึงเมืองนอก

นอกจากผลงานที่ได้ร่วมกับโปรเจกต์ในประเทศไทยมามากมายแล้ว ทางทีมก็มีโอกาสได้แสดงฝีมือให้ชาวต่างประเทศดูด้วย การบินไปทำงานถึงเกาหลีและลอนดอนทำให้พวกเขาได้เห็นถึงการทำงานของบริษัทระดับโลกที่ช่วยให้พวกเขาได้ข้อคิดหลายๆ อย่างติดตัวกลับมา

เราเห็นถึงความโปรของเขามาก ทั้งเรื่องเวลา เรื่องความตั้งใจ ด้วยเนเจอร์ของคนเกาหลีด้วยแหละที่พวกเขาจะทำอะไรก็ทุ่มสุดๆ พูดกันตรงไปตรงมา ถ้าเห็นไม่ตรงกันก็คุยกันเลย ทำให้งานมันจบได้อย่างรวดเร็ว เป็นสิ่งที่เราประทับใจมากๆ ครับ

ในส่วนของลอนดอน เราต้องคำนึงถึงปัจจัยเวลาเราไปแสดงผลงานที่ต่างประเทศ อย่างเช่น เรื่องสิ่งของ เรื่องการจัดเตรียมอุปกรณ์ต่างๆ หรือเรื่องที่เราต้องศึกษาพื้นที่ก่อนไป มันจะแตกต่างจากการทำงานที่นี่ ซึ่งสิ่งเล็กๆ เหล่านี้ที่เราไม่สามารถไปดูพื้นที่ก่อนได้ มันอาจจะส่งผลให้เกิดปัญหาทีหลัง ยิ่งเราทำงานกับพวกเทคโนโลยี มันยิ่งสำคัญมากที่เราต้องจัดเตรียมให้ดีก่อนไป

เมื่อเราได้พูดคุยกับทางทีมอย่างพอประมาณแล้ว เราก็สามารถสรุปให้ทุกคนเข้าใจง่ายๆ ถึงกลุ่มคนกลุ่มนี้ได้ด้วย 3 คำ นั่นก็คือ ‘ความชอบ’, ‘ความเชื่อ’ และ ‘ความกล้า’ เพียงแค่เริ่มต้นจากการชอบสิ่งๆ นึงมากๆ ต่อมาเราต้องเชื่อว่าเราจะลงมือและลงทุนกับมันได้ สุดท้ายเพียงแค่ความกล้าเท่านั้นแหละที่จะทำให้เราตัดสินใจทำอะไรสักอย่างกับมันจริงๆ

Zipevent อยากจะเชิญชวนถึงเหล่าออกาไนเซอร์ที่มีความสนใจอยากจะลองอะไรใหม่ๆ สร้างประสบการณ์ใหม่ๆ ให้กับผู้เข้าร่วมงานอีเว้นท์ โดยการนำเรื่องของ Visual Design และ Technology มารวมเข้าไว้ด้วยกัน… บอกได้เลยว่า YIMSAMER พร้อมที่จะร่วมสร้างสรรค์สิ่งๆ นั้นออกมา ด้วยแพสชั่นและคุณภาพงานของพวกเขานี่แหละ จะไม่ทำให้พวกคุณผิดหวังแน่นอน : ) 

สามารถคุยกับพวกเขาได้เลยที่ www.facebook.com/yimsamer/หรือถ้ายังไม่หนำใจ ไปดูวิดีโอสัมภาษณ์กับพวกเขาต่อได้ที่ Click 

ติดต่อร่วมงานกับ Zipevent ได้ที่

Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/%40khj7199c

Instagram: www.instagram.com/zipevent

Website: www.zipeventapp.com

Twitter: www.twitter.com/zipeventapp

Facebook: www.facebook.com/zipevent

Comments

comments

Author

You only live once