Trending Now

พลาสติกเป็นวัสดุสังเคราะห์ที่มนุษย์รู้จักมานานกว่า 130 ปี พลาสติก เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 มนุษย์เริ่มใช้ประโยชน์จากปฏิกิริยาเคมี และทำพลาสติกขึ้นมาใช้เป็นครั้งแรก เมื่อ ค.ศ. 1868 ในยุคสมัยนั้นการเป็นบิลเลียดเป็นที่นิยมมาก และลูกบิลเลียดจะถูกผลิตโดยการนำงาช้างมาขึ้นรูป และกลึงจนได้สัดส่วนกลมเกลี้ยง แต่วัสดุงาช้างนั้น หายากและราคาแพง นี่เป็นโจทย์ให้ นายจอห์น เวสลีย์ ไฮแอท (John Wesley Hyatt) นักวิทยาศาสตร์ชาวอเมริกัน ทดลองนำ “ไนไตรเซลลูโลส” มาใช้ทำลูกบิลเลียดแทนงาช้างเป็นครั้งแรก

พลาสติก มาจากไหน

พลาสติกเกือบทั้งหมดมาจากน้ำมัน หรือก๊าซธรรมชาติ ทุกครั้งที่เราขุดเจาะน้ำมันดิบ 25 ลิตรขึ้นมาจากใต้ดิน 1 ลิตรจะกลายไปเป็นพลาสติก พลาสติกที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบจะผลิตในโรงงานใหญ่ที่เชี่ยวชาญโดยเฉพาะโดยแปรรูปพลาสติกหลายรูปแบบออกมาขายเป็นเม็ดพลาสติกซึ่งเป็นวัตถุดิบของโรงงานพลาสติกในการผลิตของต่างๆ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติคือซากพืชโบราณ แต่พลาสติกยังผลิตจากวัสดุที่ทำจากพืชสมัยใหม่อย่างข้าวโพด อ้อย หรือฟางได้ด้วย เรียกว่า พลาสติกชีวภาพ

พลาสติกมีกี่ประเภท

ลองมองไปรอบๆ โต๊ะทำงาน หรือรอบๆ ตัวเรา ก็จะพบว่ามากกว่า 80% เป็นสิ่งของที่เป็นพลาสติกทั้งสิ้น แต่จะรู้ไหมว่า พลาสติกมี 2 แบบหลักคือ 1 พลาสติกจะแข็งตัวถาวรไม่ว่าจะถูกความร้อนมากแค่ไหนก็ตาม ทำให้ไม่สามารถหลอมเพื่อขึ้นรูปใหม่ตามที่ต้องการได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกกลุ่มนี้ว่า เทอร์โมเซตติ้ง (Thermosetting) และ 2 พลาสติกจะเกิด การอ่อนตัวเมื่อถูกความร้อน และจะกลับไปแข็งเมื่อพลาสติกเย็นขึ้น ทำให้สามารถนำไปหลอมขึ้นรูปใหม่ได้ ซึ่งจะเรียกพลาสติกแสดง คุณสมบัติแบบนี้ว่า เทอร์โมพลาสติก (Thermoplastic) ซึ่งเป็นพลาสติกที่สามารถรีไซเคิลได้

PET หรือ PETE พลาสติกหมายเลข 1  เป็นพลาสติกใส แข็ง ทนแรงกระแทกดี ไม่เปราะแตกง่าย และกันแก๊สซึมผ่านดี ใช้ทำขวดบรรจุน้ำดื่ม ขวดน้ำมันพืช เป็นต้น

เอชดีพีอี (HDPE) พลาสติกหมายเลข 2 เป็นพลาสติกที่เหนียวและแตกยาก ค่อนข้างแข็งแต่ยืดได้มาก ทนทานต่อสารเคมีและสามารถขึ้นรูปทรงต่างๆ ได้ง่าย ใช้ทำขวดนม ขวดน้ำ และบรรจุภัณฑ์สำหรับน้ำยาทำความสะอาด ยาสระผม เป็นต้น

พีวีซี (PVC) พลาสติกหมายเลข ใช้ทำท่อน้ำประปา สายยางใส แผ่นฟิล์มสำหรับห่ออาหาร แผ่นพลาสติกสำหรับทำประตู หน้าต่าง และหนังเทียม เป็นต้น

แอลดีพีอี (LDPE) พลาสติกหมายเลข 4 ที่มีความนิ่ม เหนียว ยืดตัวได้มาก ใส ทนทาน แต่ไม่ค่อยทนต่อความร้อน ใช้ทำฟิล์มห่ออาหารและห่อของ ถุงใส่ขนมปัง ถุงเย็นสำหรับบรรจุอาหาร

พีพี (PP) พลาสติกหมายเลข 5 เป็นพลาสติกที่มีความ ใส ทนทานต่อความร้อน คงรูป เหนียว และทนแรงกระแทกได้ดี นอกจากนี้ยังทนต่อสารเคมีและน้ำมัน ใช้ทำภาชนะบรรจุอาหาร เช่น กล่อง ชาม จาน ถัง ตะกร้า กระบอกใส่น้ำแช่เย็น ขวดซอส แก้วโยเกิร์ต ขวดบรรจุยา

พีเอส (PS) พลาสติกหมายเลข 6 เป็นพลาสติกที่มีความใส แต่เปราะและแตกง่าย ใช้ทำภาชนะบรรจุของใช้ต่างๆ หรือโฟมใส่อาหาร

      พลาสติกเลข 7 นั้นมิได้มีการระบุชื่อจำเพาะ แต่ไม่ใช่พลาสติกชนิดใดชนิดหนึ่งใน 6 ที่ได้กล่าวไปในข้างต้น แต่เป็นพลาสติกที่นำมา หลอมใหม่ได้

นิทรรศการ Yes, Plastic! Things to Rethink: เมื่อพลาสติกต้องคิดใหม่”

ใช่, พลาสติกคือวัสดุสังเคราะห์ที่มนุษย์สร้างขึ้น จากความท้าทายของทรัพยากรธรรมชาติที่กำลังลดลง ด้วยความสามารถในการขึ้นรูปปรับเปลี่ยนไปตามความคิดสร้างสรรค์ พลาสติกจึงได้เข้าไปแทนที่ทุกอย่าง ตอบโจทย์ความต้องการได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด พลิกโฉมอุตสาหกรรมการผลิตเพื่อมวลชน และเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของมนุษย์มาแล้วราว 150 ปี

ใช่, ถึงปัจจุบันพลาสติกชิ้นแรกก็ยังไม่ได้ถูกย่อยสลาย และดูเหมือนว่าการแก้ปัญหาหนึ่งกำลังสร้างอีกปัญหาหนึ่ง จนทำให้วันนี้ เราอาจต้องกลับมาทบทวนถึงการใช้วัสดุชนิดนี้อีกครั้ง เห็นความสำคัญของการออกแบบตั้งแต่จุดเริ่มต้น ว่าสิ่งต่างๆ ถูกสร้างอย่างไร จะถูกใช้อย่างไร และจะถูกเลิกใช้อย่างไร แล้วจะสามารถถูกนำกลับมาสร้างหรือเพื่อใช้ใหม่ได้อย่างไร

นิทรรศการ Yes, Plastic! Things to Rethink “เมื่อพลาสติกต้องคิดใหม่” เป็นความร่วมมือระหว่างสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (องค์การมหาชน) โดยศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC) และจีซี หรือบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เพื่อนำเสนอศักยภาพของวัสดุและความคิดสร้างสรรค์ พร้อมทั้งตั้งคำถามการใช้งานทั้งในแง่คุณสมบัติ ผลกระทบ การออกแบบ และการอยู่ร่วมกันกับพลาสติกในอนาคต

30 ตุลาคม 2018 – 17 กุมภาพันธ์ 2019 / 10.30 – 21.00 (ปิดวันจันทร์)

ห้องแกลอรี ชั้น 1 อาคารส่วนหลัง TCDC กรุงเทพฯ 

เข้าชมฟรี

สามารถค้นหางานอีเว้นท์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่

Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/%40khj7199c

Instagram: www.instagram.com/zipevent

Website: www.zipeventapp.com

Twitter: www.twitter.com/zipeventapp

Facebook: www.facebook.com/zipevent

ที่มา : พลาสติกคืออะไร?, พลาสติกผลิตขึ้นอย่างไร? และ 7 ประเภทของพลาสติกมีอะไรบ้าง?

Comments

comments