Trending Now

MICE หรือที่เราเรียกว่า Business Event จะมีความแตกต่างจาก Event ธรรมดา ตรงที่นอกจากจะมีเรื่องของ Production อยู่ด้วยแล้ว Business Event ก็จะรวม Ecosystem ของการทำธุรกิจไว้ด้วย คนที่เข้ามาร่วมงานอีเว้นท์งานหนึ่ง ก็จะสนใจเกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ เฉพาะเจาะจงไป เหมือนมีคอลัมภ์สิ่งที่ตัวเองสนใจอยู่แล้ว

MICE ย่อมาจาก Meetings, Incentive Travel, Conventions, Exhibitions (หรือบางครั้ง C หมายถึง Conferencing และ E หมายถึง Events) ซึ่งหมายถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการจัดประชุมบริษัทข้ามชาติ การท่องเที่ยวเพื่อเป็นรางวัล การประชุมนานาชาติ และการจัดนิทรรศการ ตัวอย่างงานที่เห็นไดัชัดเลยคือ Creative Talk Conference 2019 หรือ CTC 2019 ที่ผ่านมา

มุมมองของภาครัฐต่อ Business Event

การที่เราสนับสนุน MICE หมายถึงว่าเราจะเน้นเจาะเป็นเชิง B2B ที่มีกลุ่มเป้าหมายที่ชัดเจน มารวมตัวกัน โดยสิ่งที่จะเกิดขึ้นจะมี 2 ส่วนด้วยกันคือ 1. ผลกระทบด้านเศรษฐกิจ เรื่องของการสร้างรายได้ การกระจายรายได้ในอุตสาหกรรม ตั้งแต่ผู้จัดงาน สถานที่จัดประชุม ซัพพลายเชนทั้งหลาย และอื่นๆ

2. ผลกระทบด้านองค์ความรู้ สิ่งที่มาแชร์กัน จุดสำคัญๆ หรือเทรนด์ต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น อันนี้คือเสน่ห์ของ MICE ซึ่งสามารถอยู่ในรูปแบบของการจัดประชุมได้ หรือถ้าเป็นแบรนด์ต่างๆ ก็เช่น เทรนด์ใหม่ๆ หรือการเปิดตัวสินค้าใหม่ๆ การจัดแสดงสินค้า การเจรจาซื้อขายด้วย

ส่วนของผู้สนับสนุน

ในแง่ของการสร้างรายได้ ประเทศไทยสร้างรายได้จาก MICE แสนกว่าล้านบาทในเฉพาะส่วนของต่างชาติเข้ามาในไทยเท่านั้น จุดแข็งของประเทศไทย คือความเป็นไทย เช่น อาหาร สถานที่ท่องเที่ยว ประสบการณ์ที่ดีจากการมาเยือนประเทศไทย อุตสาหกรรม MICE ช่วยให้อุตสาหกรรมอื่นๆ เติบโตขึ้น

สิ่งที่ควรเติมเต็มสำหรับประเทศไทยเพื่ออุตสาหกรรม MICE คือ ประเทศไทยควรจะต้องมีการสร้างตัวตนให้ชัดเจนขึ้น ทำให้ประเทศไทยเป็นที่น่าสนใจมากขึ้น ในการเลือกเป็นปลายทางของการจัด MICE ทำให้ผู้จัดงานเข้าใจผู้มาร่วมงานอีเว้นท์อีกด้วย หน้าที่ของประเทศไทยคือ ทำ User Journey ให้ชัดเจนขึ้นนั่นเอง

ด้านผู้จัดงาน

สิ่งที่เปลี่ยนอย่างเห็นได้ชัดของ Busines Event คือ สื่อออนไลน์ จากเมื่อก่อนผู้มางานอีเว้นท์ต้องออกมางานอีเว้นท์เท่านั้น แต่ปัจจุบันผู้มาอีเว้นท์ไม่ต้องออกมางานอีเว้นท์ข้างนอกก็ได้ สามารถรับชมได้ผ่านสื่อออนไลน์ที่บ้านได้อยู่ดี ทำอย่างไรที่จะดึงคนเหล่านั้นออกมาให้ได้ แต่สุดท้ายอีเว้นท์ยังเป็นอีเว้นท์อยู่ดี ถึงแม้เราจะสามารถรับชมที่ไหนก็ได้ ผ่านสื่อออนไลน์ แต่ยังไงแล้วความเป็นมนุษย์ เราก็ต้องออกมาพบเจอผู้คนอยู่ดี แต่ทั้งหมดทั้งมวลที่จะทำให้ MICE หรือ อีเว้นท์อยู่ได้คือตัว Content

หัวใจสำคัญที่สุดของการทำ Content คือ การรู้ว่าตัวตนของเราคืออะไร แล้วเราจึงจะส่งมอบสิ่งที่มีประโยชน์ให้กับคนที่รับฟัง หรือผู้ที่มาอีเว้นท์ เนื้อหาจะถูกเน้นไปที่ความถนัด หรือความเชี่ยวชาญ เทคนิคอีกอย่างหนึ่งคือ การซาวน์เช็คเสียงจากผู้ที่จะมาร่วมอีเว้นท์ก่อนได้ ทำให้เข้าใจและนำเสนอเนื้อหาได้ตรงใจคนมางาน ไม่ว่าจะเป็นการดึง Speaker มาพูดได้ เป็นต้น

นอกเหนือจากการทำแบบสอบถามหลังงานอีเว้นท์ ที่สำคัญอีกอย่างไม่แพ้กัน การออกแบบ User Journey ในงานอีเว้นท์ ทั้งผู้มางานอีเว้นท์ และผู้เกี่ยวข้องทั้งหมด ให้ราบรื่น หรือเกิดประสบการณ์ที่ดีขึ้นได้

บทสรุป

สรุปคือ เทรนด์การจัด Business Event เนื้อหาของงานอีเว้นท์จะต้องมีความเฉพาะเจาะจง ตามหัวข้อที่ผู้มางานสนใจ รวมถึงการออกแบบ User Jouney ของงานอีเว้นท์ ความเป็นตัวตนของประเทศไทย ประสบการณ์ที่ได้รับจากการมาประเทศไทยหรืออีเว้นท์ เทคโนโลยีที่จะทำให้ประสบการณ์การมาอีเว้นท์นี้ดีขึ้น เรื่องของ Community ที่เกิดขึ้นระหว่างงานอีเว้นท์ ที่เกิดการแบ่งปัน แชร์ความรู้กัน การใช้ Content เป็นตัวกลาง และทำให้องค์ประกอบของอีเว้นท์ทั้ง 4 ได้รับประโยชน์ทุกส่วน จึงจะทำให้งานอีเว้นท์นั้นประสบความสำเร็จ

การจัดอีเว้นท์มีองค์ประกอบดังนี้

  1. ผู้จัดอีเว้นท์
  2. ผู้สนับสนุน
  3. ผู้มางานอีเว้นท์
  4. ผู้ดำเนินงานอีเว้นท์ หรือผู้พูด

และที่กล่าวมา เป็นบทสรุป แนวโน้ม และเทรนด์ของ MICE หรือ Business Event ทั้งในมุมของภาครัฐ นโยบาย สถานที่จัดอีเว้นท์ ผู้จัดงาน คนที่เข้ามาอยู่ใน Ecosystem นี้ อีเว้นท์ยังคงเป็นอนาคตข้างหน้าที่กำลังจะเกิดขึ้น

Comments

comments