Trending Now

สำหรับงานครั้งแรก สุดขอบฟ้าแห่งดินแด่น มหัศจรรย์ จะนำเสนอผลงานที่ทำขึ้นสำหรับสถานที่ เหล่านี้ โดยศิลปินจำนวนรวม 57 คน แบ่งออกเป็น ศิลปิน 50 คน (กลุ่ม) จาก 25 ประเทศทั่วโลกที่เรา เชิญมาระหว่างช่วงเวลาเฟ้นหา ศิลปินหน้าใหม่อีก 3 คนที่คณะกรรมการคัดเลือกมาจาก Artist Open Call และศิลปินแห่งชาติของไทยอีก 4 คน ที่สำนักงาน ศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัยแนะนำ เบียนนาเล่ครั้งนี้ เป็นการส่งเสริมการสำรวจทางทัศนศิลป์เพื่อสร้าง วิธีคิดใหม่ๆ และเชิญชวนให้ทุกคนมาร่วมเดินทาง ในการผจญภัย และใคร่ครวญความสัมพันธ์ระหว่าง ศิลปะ ธรรมชาติ และชีวิตประจำวันไปด้วยกัน และอยากชวนมารู้จักกับ 10 ศิลปินในงาน Thailand Biennale ที่เรียกได้ว่าเป็น 10 ท่านสุดท้ายกัน สำหรับใครที่อยากอ่านตั้งแต่ศิลปินในงาน Thailand Biennale EP 1 (คลิกที่นี่) EP 2 (คลิกที่นี่) และ EP 3 (คลิกที่นี่)

ศิลปินในงาน Thailand Biennale ที่จัดแสดงที่หาดนพรัตน์ธารา

Vladimir ARKHIPOV

ศิลปินในงาน Thailand Biennaleศิลปินในงาน Thailand Biennale

ในการสร้างงานนี้ Vladimir Arkhipov ได้มองหาวัตถุเครื่องใช้ตามบ้านที่ “มองไม่เห็น” ที่คนมักจะทำมาใช้เอง แต่ศิลปินมองว่ามันเป็นงานประติมากรรม เป็นหัวขัอที่ต้องวิจัย เขาเชื่อว่า วัตถุเหล่านี้ไม่เคยเป็นสินค้ามาก่อน ไม่เคยถูกเลียนแบบ อย่างไรก็ดีตัว “ผู้สร้าง” ของมันก็ไม่ปรากฏ ว่าเป็นใครในช่วงเวลาไหน ของเหล่านี้ไม้ใช้งานศิลปะ สำหรับตลาดศิลปะ ความจริงใจของมันจึงเป็นเรื่อง ที่น่าทึ่ง Arkhipov มุ่งเป้าไปที่การมีปฏิสัมพันธ์ กับตัวผู้สร้างงานเหล่านี้ โดยได้เข้าไปสัมภาษณ์ ทำจดหมายเหตุ และจัดแสดงสิ่งของโดยได้เหล่านี้ ในฐานะพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่มีชีวิต หลังเสร็จสิ้นงาน Thailand Biennale สิ่งของทั้งหมดจะกลับไปยัง มือผู้สร้างมันขึ้นมา ดังนั้นสิ่งของที่ทำไว้ใช้ตามบ้านนี้ จึงมีการเปลี่ยนสถานะสองครั้ง คือเป็นของใชในบ้านก่อน แลวจึงมาเป็นงานประติมากรรม ก้อนจะกลับไปเป็นของใช้ในบ้านอีกครั้ง

ศิลปินในงาน Thailand Biennaleศิลปินในงาน Thailand Biennaleศิลปินในงาน Thailand Biennale

A K DOLVEN

ขณะอยู่บนเที่ยวบินสู่จังหวัดกระบี่ในปี 2017 A K Dolven นั่งถัดจากหญิงชาวไทยที่เดินทาง เพื่อนำหนังสือ 200 เล่ม กลับไปส่งที่วัดพุทธใน คริสเตียนซานประเทศนอร์เวย์ ที่ซึ่งเธออาศัยอยู่ มานาน 13 ปี ทั้งคู่แลกเปลี่ยนประสบการณ์ส่วนตัว เกี่ยวกับนอร์เวย์ระหว่างรอให้ถึงที่หมายที่คนหนึ่งกำลังจะได้ค้นพบ ส่วนอีกคนกำลังจะได้ค้นพบอีกครั้ง สำหรับ Thailand Biennale น Dolven นำเสนอสถานที่ซึ่งดำรงอยู่ภายในสถานที่หนึ่งเพื่อสร้าง ความเชื่อมโยงกับเศษเสี้ยวของความทรงจำ และการค้นพบสิ่งที่ไม่รู้จัก ผลงานชิ้นนี้ตั้งอยู่ระหว่าง โขดหินสองก้อนที่ปลายหาดนพรัตน์ธารา เป็นบ้านที่จะเข้าถึงได้ขณะน้ำลงเท่านั้น และจะกลายเป็นเกาะอันโดดเดี่ยวเมื่อน้ำขึ้น ราวกับภาพในความฝัน สำหรับผู้มองที่อยู่บนฝั่ง ภายในมีการตกแต่งด้วยวัตถุที่พบได้ทั่วไปในจังหวัดกระบี่ มีหน้าต่างเป็นกรอบของทิวทัศน์บางส่วนภายนอก ผู้มาเยือน จะได้ยินเสียงทั้งในภาษาไทย อังกฤษ และนอร์เวย์ที่บันทึกจากชุมชนชาวไทยในนอร์เวย์สะท้อนสถานที่ที่พวกเขาทิ้งเอาไว้เบื้องหลังและสถานที่ที่พวกเขา อาศัยอยู่ในปัจจุบัน

Rania HO

ศิลปินในงาน Thailand Biennaleศิลปินในงาน Thailand Biennale

ตามแนวท่าเรือนพรัตน์ธาราที่นักท่องเที่ยวจะขนลงเรือเพื่อไปเยี่ยมชมเกาะอันสวยงามต่างๆ ของกระบี่ จะมีสูทพองลมจำนวนหนึ่ง โบกสะบัดอยู่บนยอดเสาธงเรียงราย ผลงานชุดนี้ได้รับแรงบันดาลใจ จากเรื่องเล่าของลุงของ Rania Ho ที่ถูกหลอกให้เดินทางจากฮ่องกงไปเยอรมันเพื่อเรียนด้านการแพทย์ แตกลับถูกให้ไปทำงานในร้านตัดสูท งาน A Formation ชี้ให้เห็นถึงพลวัตของโลกาภิวัตน์ ภูมิรัฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์และเพศสภาวะ อย่างไม่เกี่ยวข้องกัน จนนางงงวย ด้วยตำแหน่งการจัดแสดงของมัน ธรรมชาติโดยเฉพาะ ลม เป็นสิ่งที่คาดเดาไม่ได้ สำหรับงาน A Formation นี้ อาคันตุกะผู้ไม่มั่นคง ได้ถูกควบคุมไว้เพื่อทำให้งานเป็นรูปร่าง แสดงถึง ความแตกต่างระหว่างพลังอันสูงส่งของธรรมชาติ กับพฤติการณ์อันไร้ค่าของมนุษย์

ศิลปินในงาน Thailand Biennaleศิลปินในงาน Thailand Biennale

Bharti KHER

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

The Intermediaries คือประติมากรรมที่ประกอบ ร่างของเทพฮินดูเข้าด้วยกันเพื่อผสมผสานให้เกิดเป็น เทพองค์ใหม่ที่เป็นตัวแทนของมนุษย์ชาติในปัจจุบัน เมื่อผู้คนจากหลากหลายเส้นทางชีวิตได้มารวมตัวกัน โดยไม่คำนึงถึงสัญชาติ ศาสนา เชื้อชาติ ภาษา และ วัฒนธรรม ศิลปินได้แรงบันดาลใจจากประวัติของ บรรพบุรุษของเธอ และการเดินทางของเธอในฐานะ ชาวอินเดียที่เติบโตขึ้นในลอนดอน ก่อนจะตัดสินใจ ย้ายกลับเดลีเพื่อสร้างชีวิตของเธอขึ้นมาใหม่ และ กลายเป็นศิลปินที่หาเลี้ยงครอบครัว สำหรับงาน Thailand Biennale ผลงาน The Intermediaries ประกอบขึ้นจากวัสดุธรรมชาติ ได้แก่ ดินเหนียวที่ไม่ผ่านการเผา ฟาง และโครงไผ่ งานชิ้นนี้ตั้งอยู่บน ชายหาดกระบี่ เป็นตัวกลางระหว่างแผ่นดินและผืนน้ำ และจะยืนหยัดต้านทานภูมิอากาศในแต่ละวันไป จนกว่าจะพังทลาย เมื่อนั้น วัฏจักรชีวิตจึงจะสมบูรณ์

Alicja KWADE

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

งานประติมากรรมของ Alicja Kwade ทำการพิจารณาให้เห็นว่าความเป็นจริงถูกวางโครงสร้าง ผ่านการรับรู้ของมนุษย์ในด้านเวลา พื้นที่ และธรรมชาติของวัตถุสำหรบงาน Thailand Biennale ครั้งแรกนี้จะมีการสร้างกำแพงคอนกรีตและจะมี แผ่นเหล็กสเตนเลสขัดมันเพื่อสะท้อนโครงสร้าง พื้นฐานของผลงานจัดวางเฉพาะที่ของ Kwade ที่หาดนพรัตน์ธารา ซึ่งมันจะทำให้พื้นที่ดูเป็นอีกมิติหนึ่ง และเป็นการขยายขอบเขตของความเป็นจริงที่สามารถสังเกตได้ ก่อนหินปูนที่พบในเหมืองหิน ในกระบี่ถูกนำมาผลิตซ้ำ ในภาพสะท้อนของมันในอะลูมิเนียม วัตถุทั้งสองเวอร์ชั่น ทั้งต้นฉบับ และภาพสะท้อนของมันถูกเชื่อมโยงผ่านแผ่นอะลูมิเนียม ที่ขัดเงาเป็นกระจกซึ่งทำให้งานจัดวางหลอมรวมกับ สิ่งที่อยู่รอบๆ มัน เมื่อผู้ชมเดินวนรอบงาน ผู้ชมก็จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของงานจัดวาง เป็นการเพิ่มมิติของการมีส่วนร่วมในการมีปฏิสัมพันธ์ใหกับชิ้นงานด้วย ผลงานการจัดวางนี้นำเสนอกรอบของงานที่จะแสดงภาพตัวอย่างไปพร้อมๆ กับท้าทายมุมมอง ของผู้ชมเกี่ยวกับสิ่งรอบๆ ตัว ซึ่งจะเน้นไปที่ประเด็น การรับรู้ความจริงของผู้ชม

LI Wei

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

งานจัดวางนี้ประกอบด้วยแผ่นจารึกปูนปลาสเตอร์ รูปทรงเรขาคณิต 30 กว่าแผ่น ซึ่งจะวางอยู่ในบริเวณป่าใกล้หาดถัดไปจากท่าเรือ เมื่อมองในแวบแรก การนำเสนอของงานจัดวางนี้ดูจะเป็นงานมินิมัล หรืองานแอพสแทร็ค ซึ่งเป็นจารีตทางสุนทรียภาพ ที่ย้อนกลับไปได้ถึงงาน Black Square อันโด่งดังของ Malevich ในปี 1915 อย่างไรก็ดี ในพื้นที่ท่องเที่ยวต่างถิ่นเช่นนี้ การปรากฏขึ้นของแผ่นจารึกปูนปลาสเตอร์สีขาวกลมใหญ่ ที่มีทั้งสั้นทั้งยาว ทั้งเล็กทั้งใหญ่ ก็ดูน่าประหลาด น่าขัน หรือกระทั่ง ทำให้ชวนกระอักกระอ่วน แผ่นจารึกเหล่านี้มีรูปทรง และสีที่สุดแสนธรรมดา มันสงบนิ่งและนอบน้อม แต่ยังสามารถถือกำเนิดและส่งพลังงานไปรบกวน บรรยากาศของการมาพักร้อนของเหล่านี้ก็ท่องเที่ยวได้ และทำให้เราทุกคนได้ฉุกคิดถึงความไม่จริงของชีวิตขึ้นมา ชั่วครู่จากเขตแดนของอีกโลกหนึ่ง จากความเป็นนิรันดร์

MAP OFFICE

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

จังหวัดกระบี่มีชื่อเสียงเรื่องเกาะอันเป็นเอกลักษณ์ ภูมิประเทศแบบที่ราบสูงและสายน้ำ เหนือไปกว่าการเป็นสถานที่ท่องเที่ยวแล้ว ทะเลในภูมิภาคนี้ยังเป็น แหล่งทำการประมงสารพัด เป็นบ่อเกิดของเรื่องเล่า ที่ไม่ปรากฏจำนวนมาก และเป็นแหล่งรวมวัฒนธรรมอันหลากหลาย สัญญะล่องหนของกิจกรรมเหล่านี้ คือแหจำนวน มากที่ถูกทิ้งไว้ซึ่งมีทั้งเต่าและปลาติดอยู่ อันเป็นการทำร้ายสภาพแวดล้อมในทะเล Ghost Island เป็นการเอาแหที่ถูกทิ้งรอบๆ กระบี่ และในทะเลอันดามันมากองพะเนินสูง 6 เมตร งานจัดวางนี้ชวนให้นึกถึงลักษณะเฉพาะทางธรณีวิทยาของเกาะต่างๆ ที่อยู่โดยรอบ อันเกิดจากการสะสมและลำดับชั้นทับถมจำนวนมหาศาล นอกเหนือจากนี้ มันยังพูดถึงปัญหาการทิ้งขยะลงในทะเล และการรักษาสภาพแวดล้อมของเรา ที่แม้จะเป็นงานยาก แต่ก็มีความจำเป็น เมื่อเราเข้าใกล้ตัวงานประติมากรรม Ghost Island จะเต็มไปด้วยเรื่องเล่าจากชุมชน ชาวประมงและชาวเล ซึ่งตัวศิลปินได้รวบรวมมาจาก การวิจัยและเดินทางสำรวจหลายครั้งในกระบี่ และพื้นที่ใกล้เคียงอย่างเกาะลันตาและเกาะพีพี งานศิลปะนี้ทำให้ทั้งสภาพภูมิศาสตร์ แผนที่ในแบบอื่นๆ และเรื่องราวลี้ลับต่างๆ ที่คนนอกเกาะไม่รู้นั้นปรากฏขึ้น

ศิลปินในงาน Thailand Biennaleศิลปินในงาน Thailand Biennale

Jedsada TANGTRAKULWONG

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

เจษฎา ตั้งตระกูลวงศ์ มีแผนที่จะเชื่อมต่อ สามทำเลของงาน Thailand Biennale (ท่าปอม คลองสองน้ำ ถ้ำค้างคาวเล็กๆ ที่เขาขนาบน้ำ และหาดนพรัตน์ธารา) เข้าดวยกน งานชิ้นนี้มีค้างคาวเป็นวาทยกร ในช่วงก่อนพระอาทิตย์ตกดิน ค้างคาว จะบินออกจากถ้ำเป็นเวลาหนึ่งชั่วโมง เสียงการเคลื่อนไหวของค้างคาวตอนบนออกจากถ้ำจะถูก นำไปประสานกับเสียงของนกและแมลงที่ท่าปอมคลองสองน้ำ ที่ถูกบันทึกไว้ ซึ่งฟังดูราวกับวงออเคสตรา ซึ่งเสียงที่ได้มานี้จะถูกนำไปเปิดที่ท้ายเรือหางยาว ที่หาดนพรัตน์ธารา โดยผู้โดยสารเรือหางยาวจะได้ยิน เสียงนกและแมลงไปพร้อมๆ กับเสียงค้างคาวขณะบินออกจากถ้ำ และเรือหางยาวทำหน้าที่ดั่งคอนเสิร์ตฮอลล์เคลื่อนที่ เมื่อประกอบกับประติมากรรมรูปค้างคาว ประสบการณ์ทั้งหมดจะสะท้อนความเป็นชายขอบ ของถิ่นที่อยู่ของค้างคาวกับโลกภายนอก มันยังจะ สร้างประสบการณ์ที่ทั้งแปลกต่าง และขัดแย้งด้วย กล่าวคือ สิ่งที่มองเห็นกับสิ่งที่มองไม่เห็น การวางแผน กับการด้นสด และเทคโนโลยีกับธรรมชาติ

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

ศิลปินในงาน Thailand Biennale ที่จัดแสดงที่เกาะปอดะ

Ayse ERKMAN

งานต่างๆ ของ Erkmen ทำการแทรกแซง และย้ายบริบททั้งโครงสร้างและสถานการณ์ที่ดำรงอยู่บน ฐานของสภาวะแวดล้อมทางสังคมและกายภาพที่มันปรากฎขึ้น ซึ่งมันก็มักจะสร้างพื้นที่อันคลุมเครือที่ชีวิต และศิลปะผูกโยงเข้าด้วยกัน ในงาน Thailand Biennale ซึ่งจัดเป็นครั้งแรกนี้ ตัวศิลปินได้เลือก เกาะปอดะซึ่งเป็นพื้นที่ชูโรงของกระบี่ แล้วนำมันมาจินตนาการใหม่ภายใต้แนวทางของภาพ The Castle of the Pyrenees ของศิลปินแนวเหนือจริงจาก เบลเยี่ยม René Magritte ตัว Erkmen เพียงแค่ปรับเปลี่ยนโดยเอาชื่อของ Margritte มาทำเป็นป้ายในแบบฮอลลีวูดโดยปักมันไว้บนเกาะปอดะซึ่งเป็นการ คารวะเจ้าแห่งศิลปินผู้เป็นหนึ่งในประวัติศาสตร์ศิลปะ ในศตวรรษที่แล้ว ผู้นี้ในเวลาเดียวกัน มันก็ได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่ “ท่องเที่ยว” ให้กลายเป็นตัวอย่างของพื้นที่ “ทางวัฒนธรรม” ผ่านพัฒนาการทาง ศิลปะ แม้ว่าในทางเทคนิคแล้ว งานจัดวางนี้ จะทำให้เกิดในสถานที่จริงไม่ได้ แต่มันจะปรากฎ อยู่ในป้ายโฆษณาทั่วประเทศไทยมากกว่าแค่ใน จังหวัดกระบี่ เพื่อทำให้เส้นแบ่งระหว่างประวัติศาสตร์ ศิลปะและวัฒนธรรมป๊อป เส้นแบ่งระหว่างโฆษณา และสโลแกน เส้นแบ่งระหว่างสิ่งที่มีอยู่จริงกับสิ่งที่เกิดจากจินตนาการเลือนลางลง

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

Ignas KRUNGLEVICIUS

งานของ Ignas Krunglevicius เป็นงานที่ข้ามพรมแดนของศิลปะและดนตรีเสมอ เขาสร้างงาน จัดวาง งานวิดีโอ และงานวัตถุ โดยผสมผสานภาพ และเสียงเข้าด้วยกัน เพื่อสำรวจความสัมพันธ์ระหว่าง กลไกของจิตใจมนุษย์กับประสบการณ์ที่เกิดจาก เทคโนโลยี ในงาน Thailand Biennale 2018 เขาเสนองาน “ประติมากรรมเสียง” สองชิ้น โดยชิ้นหนึ่ง เป็นโลหะสูง 4 เมตร ที่มีระบบเสียงติดอยู่ซึ่งอยู่ที่ชายหาดเกาะปอดะ ในขณะที่อีกชิ้นหนึ่งเป็นชุดลำโพง ที่จะตั้งอยู่บริเวณทางเดินเงียบๆ ของน้ำตกในอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ประติมากรรมโลหะนี้ได้รับ อิทธิพลมาจากรูปทรงของนกหวีด มันจะรับลม และสร้างเสียงจากสายลมเบาๆ เสียงนี้จะมาจากท่วงทำนองที่ร้องโดยนกร้องในท้องถิ่นของกระบี่ แต่มันจะถูกปรับแต่งแบบดิจิทัลให้เหมือนมาจาก อนาคต ส่วนงานจัดวางเสียงที่น้ำตก จะมี 4 จุด ที่คนเดินผ่านแล้วเสียงจะปรากฏขึ้น แต่ละจุดนั้นจะเป็น เหมือนตอนหนึ่งของเรื่องราวทั้งหมด มีทั้งเรื่องเล่า ในครอบครัว การบำบัดแบบกลุ่ม การไต่สวน และการคาดคะเนถึงโลกอุดมคติ เสียงที่เกิดจากงานศิลปะทั้งสองนี้สามารถตีความได้ว่าเป็นข้อความ เข้ารหัสเพื่อที่จะเตือนให้เรานึกถึงบางสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

LEUNG Chi Wo

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

โทรศัพท์ คือ นวัตกรรมเปลี่ยนโลกที่เชื่อมโยง ผู้คนที่อยู่ห่างไกลกัน และการพัฒนาตู้โทรศัพท์ ก็ทำให้คนสามารถเชื่อมต่อกันได้แม้ไมัได้อยู่บ้าน ปัจจุบัน เมื่อทุกคนหันมาใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่กันมากขึ้น ตู้โทรศัพท์สาธารณะซึ่งครั้งหนึ่งเคยเป็น ช่องทางสื่อสารช่องทางเดียวก็ได้กลายเป็นอนุสรณ์ อันไร้ประโยชน์และเดียวดายของเทคโนโลยีในวันเก่า โดยเฉพาะในพื้นที่ห่างไกลที่ไม่สามารถรับผิดชอบ ค่าบำรุงรักษาหรือค่าใช้จ่ายในการกำจัดมันได้ โครงการนี้ต้องการพูดถึง “อนุสรณ์” เหล่านี้ในจังหวัดกระบี่ ศิลปินเปลี่ยนตู้โทรศัพท์ล้าสมัย ให้กลายเป็นพื้นที่แห่งการใคร่ครวญ โดยการนำ ตู้โทรศัพท์ที่ไร้ประโยชน์พวกนี้ไปติดตั้งไว้ใหม่ ในพื้นที่ธรรมชาติที่ห่างไกล แล้วแทนที่โทรศัพท์ ด้วยไม้ที่กลายเป็นหิน ซึ่งเป็นประจักษ์พยานของ กาลเวลาโดยพฤตนัย เป็นการแทนที่วัตถุสำหรับ การสื่อสารด้วยสิ่งที่เงียบงันและสงบนิ่ง เพื่อให้เรา ได้พิจารณาและสื่อสารกับตัวเอง

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

Camille NORMENT

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

งานเฉพาะพื้นที่ของ Camille Norment ที่เกาะปอดะจะสร้างความรู้สึกเหนือจริงถึงขีดสุด มันคือกลุ่มไม้กลองที่ผุดมาจากพื้นดินกระจาย อยู่ตามแนวต้นสนที่ยังโตไม่เต็มที่ริมหาด ไม้กลอง 8 อัน ขนาดใหญ่ผุดปกติ หลายอันหัก ไม่ต่างจาก ต้นไม้ที่โค่นล้มลงไปจากผลของลมและกาลเวลา ในขณะที่ไม้กลองเหล่านี้ชวนให้นึกถึงภาพของต้นไม้ ที่โค่นลงเพราะแรงลม สร้างความรู้สึกตื่นตะลึง เมื่อคิดว่า มีพลังบางอย่างที่รุนแรงถึงเพียงนี้อยู่ รูปลักษณ์ของไม้กลองกับความสัมพันธ์ทางโครงสร้างอำนาจเชิงประวัติศาสตร์ ก็ยังเพิ่มความรู้สึกปั่นป่วนเช่นนี้ ท่ามกลางบรรยากาศแห่งความหวั่นวิตกที่เกิดขึ้นทั่วโลกในปัจจุบัน เสียงสำนึกของความเปลี่ยนแปลงอันชวนสับสนของทุกวันนี้ ตลอดจนสภาวะอันเปราะบาง และผันผวนของโลก แบบที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

ศิลปินในงาน Thailand Biennale ที่จัดแสดงที่ท่าปอมคลองสองน้ำ

Jana WINDEREN

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

เป็นเวลาหลายชั่วรุ่นที่ชาวประมงแห่งท่าปอม จังหวัดกระบี่ ใช้วิธีฟังเสียง เพื่อหาตำแหน่งของปลา โดยการแนบหูกับไม้พายหรือท้องเรือ ความรู้เก่าแก่นี้ ยังคงถูกนำไปปฏิบัติในหลายชุมชนทั่วโลก และปรากฏอยู่ในเรื่องเล่าของชาวกรีนแลนด์ที่ใช้ไม้พาย ฟังเสียงขับขานของวาฬ วิธีฟังเสียงเช่นนี้มีความ เป็นไปได้เนื่องจากการฟังผ่านกระดูก กล่าวคือ เมื่อคลื่นเสียงเดินทางผ่านกะโหลกเข้าไปในหูชั้นใน โดยตรง ซึ่งเป็นกลไกการฟังเสียงที่มนุษย์มีร่วมกับ ปลาและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม โครงการนี้อาศัย ความชำนาญในการหาเส้นทางของชาวประมงที่จะ พาผู้มาเยือนออกเดินทางไปตามลำน้ำเพื่อฟังเสียง ของเรอและไม้พายโดยที่ปราศจากเสียงเครื่องยนต์ ซึ่งทำให้ประสาทสัมผัสแข่งแกร่งขึ้น การเดินทางนี้ จะสิ้นสุดลงที่ศาลาปากแม่น้ำซึ่งหันหน้าเข้าหาทะเล อันกว้างใหญ่ ณ จุดนั้น ผู้มาเยือนจะได้ใช้ความคิด ใคร่ครวญ หรือรับฟังเสียงที่อยู่รอบตัวอย่างตั้งใจ แล้วจึงคอยเดินทางกลับก่อนที่คลื่นจะลดต่ำเกินไป

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

งาน THAILAND BIENNALE, KRABI 2018 ณ จังหวัดกระบี่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 – 28 กุมภาพันธ์ 2562 มีผลงานกว่า 70 ชิ้น โดยศิลปินช้ันนําจากทั่วโลก ถูกจัดวางอยู่กลางแจ้งในพื้นที่ทาง ธรรมชาติ ในรูปแบบของศิลปะเฉพาะพื้นที่ (SITE-SPECIFIC INSTALLATION) ในบทความถัดไป Zipevent จะพาไปพบกับ ศิลปินดั่งกล่าวกัน ดูรายละเอียดได้ที่นี่

สามารถค้นหางานอีเว้นท์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่

Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/%40khj7199c

Instagram: www.instagram.com/zipevent

Website: www.zipeventapp.com

Twitter: www.twitter.com/zipeventapp

Facebook: www.facebook.com/zipevent

Comments

comments