Trending Now

นับเป็นวาระพิเศษและเป็นครั้งแรกของวงการศิลปะในประเทศไทย ที่รัฐบาลโดย กระทรวงวัฒนธรรม จังหวัดกระบี่ องค์กรภาครัฐ และภาคเอกชน กำหนดจัดงานศิลปกรรม ร่วมสมัยนานาชาติ Thailand Biennale, Krabi 2018 ระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 – 28 กุมภาพันธ์ 2562 ณ จังหวัดกระบี่ บนพื้นที่อันหลากหลาย ที่มีความสวยงามทั้ง ธรรมชาติและวัฒนธรรม ในรูปแบบของศิลปะเฉพาะที่ โดยการสร้างสรรค์ผลงาน ผสมผสานกับนวัตกรรมใหม่ของศิลปินรุ่นใหม่ทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ โดย เราได้แนะนำ 20 ศิลปินในงาน Thailand Biennale ไปแล้ว คลิกที่นี่เพื่ออ่าน 10 ศิลปินที่จัดแสดงที่เขาขนาบน้ำ และเทศบาลส่วนใต้ หรือ คลิกที่นี่เพื่ออ่าน 10 ศิลปินที่จัดแสดงที่คลองม่วง เกาะกลาง และอุทยานแห่งชาติธารโบกขรณี ซึ่งถัดมาสำหรับบทความนี้ ได้นำเสนออีก 10 ศิลปินที่จัดแสดงที่เทศบาลส่วนเหนือ และหาดไร่เล

ศิลปินในงาน Thailand Biennale ที่จัดแสดงที่เทศบาลส่วนเหนือ

Lucy BEECH

Lucy Beech ตัดสินใจฉายภาพยนตร์ที่พัฒนา มาจากงานของเธอเมื่อไม่นานมานี้ Untited เป็นเรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งที่เดินทางไปทั่วโลกเพื่อรับจ้างตั้งครรภ์ ผู้หญิงจำนวนมากเดินทางข้ามพรมแดนชาติไปด้วยเหตุผลที่หลากหลายตั้งแต่เหตุผล ทางสังคม การเมือง และเศรษฐกิจ สิ่งนี้จึงทำให้งานของ Beech ตั้งคำถามกับการที่ผู้คนมองอุตสาหกรรมการตั้งครรภ์จากมุมมองทางจริยธรรม แต่เพียงอย่างเดียว และเป็นการตอบโจทย์งาน Thailand Biennale 2018 ด้วยเพราะประเทศไทยนั้น ห้ามนักเดินทางประเภทนี้เข้าประเทศมาตั้งแต่ปี 2015 ภาพยนตร์เรื่องนี้จะฉายบนจอที่สถานีขนส่งใจกลาง เมืองกระบี่ ซึ่งจะทำให้ผู้ชมที่เดินทางข้ามจังหวัด หรือประเทศสามารถเชื่อมโยงกับเนื้อหาของ ภาพยนตร์ที่เป็นเรื่องของการเดินทางได้

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

Saravudth DUANGJUMPA

ศราวุธ ดวงจำปา ประติมากรและศิลปินแห่งชาติของไทยประจำปี พ.ศ.2560 ไม่นานมานี้เขา เริ่มทำงานจัดวางและงานวัสดุเก็บตก ตั้งใจจะทำงานกับวัสดุในท้องถิ่น โดยได้ทำการสำรวจทั่วจังหวัดกระบี่มาแล้ว และสนใจในพืชเศรษฐกิจอย่างต้นยาง ซึ่งชาวสวนยางในประเทศไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจ มาสักพักหนึ่งแล้ว เนื่องจากการปลูกยางกลายเป็นที่นิยมแพร่หลายไปทั่วประเทศ ราคาผลผลิตยางจึงต่ำมาก แม้ว่าขั้นตอนการผลิตจะมีความยากก็ตาม ผลงาน ชีวิตของยาง เป็นการเน้นความสำคัญ และคุณค่าของต้นยางโดยการนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ มาแสดงในบริเวณที่มีการปลูกยาง วัตถุต่างๆ ที่ศิลปินเลือกมาแสดงไม่ได้ผ่านการเลือกมาแบบสุ่มๆ แต่ผ่านการศึกษาวิจัย ไปจนถึงการทำงานกับเจ้าหน้าที่ในท้องถิ่นที่เชี่ยวชาญด้านยาง ผลงานชิ้นนี้นอกจาก จะเกิดจากการที่ศิลปินทำงานด้วยวัสดุตามจารีตแล้ว มันยังเป็นงานจัดวางที่วางแผนไว้อย่างยอดเยี่ยม แต่ภายหลังมันจะค่อยๆ เปลี่ยนไปตามธรรมชาติของพื้นที่ในช่วงเวลาที่งานยังจัดวางอยู่

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

Aki INOMATA

ศิลปินในงาน Thailand Biennaleศิลปินในงาน Thailand Biennale

บีเวอร์เคี้ยวต้นไม้เพื่อลับให้ฟันที่โตขึ้นเรื่อยๆ ของมันยังคมอยู่ เมื่อต้นไม้ล้มลง ต้นไม้กลายเป็น ร่องรอยที่หลงเหลืออยู่บนวัตถุดิบสำหรับทำเขื่อน และที่พักอาศัยของบีเวอร์ ตอไม้กลายมาเป็นผลที่ตามมาของกิจกรรมของบีเวอร์แต่พวกมันก็ชวนให้ นึกถึงงานประติมากรรมที่ทำโดยมนุษย์

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

บีเวอร์ก็เหมือนมนุษย์ มันเป็นสัตว์ไม่กี่ชนิดที่ปรับเปลี่ยนสภาพแวดล้อมของมันตลอดเวลา เพื่อให้สภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการมีชีวิตอยู่ของพวกมัน พวกมันสร้างบ่อน้ำเทียมขึ้นมาโดยการ ตัดต้นไม้โดยรอบและประกอบมันเข้าเป็นเขื่อนเพื่อที่จะกักเก็บน้ำไว้ บ่อน้ำของบีเวอร์นเป็นสภาพแวดล้อมเฉพาะตัวที่ดึงดูดกวางมูส นกกระสา และสัตว์อื่นๆ อีกมากมาย มันน่าตื่นเต้นมากที่จะคิดว่าสภาพแวดล้อมที่สร้างโดยบีเวอร์นต่างจากสภาพแวดล้อมทสร้างโดยมนุษย์อย่างไร

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

สำหรับงาน Thailand Biennale, 2018 Inomata ก็ได้เอาต้นไม้บางส่วนมาให้บีเวอร์แทะ และใช้ไม้ที่ถูกบีเวอร์แทะเป็นวัตถุดิบสำหรับทำงานประติมากรรม Inomata ได้ให้ประติมากรในไทย แกะสลักบีเวอร์ตัวเท่าคนกำลังแทะไม้อยู่ด้วย หินทราย และจัดวางมันรอบๆ บ่อน้ำ ผลลัพธ์ก็คือ งานประติมากรรมจากศิลปินสองคนคือการที่มนุษย์เลียนแบบสิ่งที่บีเวอร์สร้างขึ้นอีกที

ศิลปินในงาน Thailand Biennale

Yuree KENSAKU

งานจิตรกรรมของ ยุรี เกนสาคู ล้วนถูกสร้างขึ้น มาจากภาวะภูมิแพ้อย่างรุนแรงของตัวเธอเอง งานของเธอวางอยู่บนฐานของความกลัวและอาการแพ้สารพัดที่เธอต้องประสบมาตลอดชีวิต ซึ่งเธอถ่ายทอดมุมมองของเธอเกี่ยวกับโลกอันยุ่งเหยิง อย่างเย้ยหยันด้วยภาพวาดสีสันสดใสของเธอ นาวา พญานาคาแห่งกระบี่ เป็นโครงการที่เชื่อมโยงกับ โรคกลัวการเดินทางทางทะเล ซึ่งเป็นหนึ่งในความกลัวของยุรีมาตลอด และเธอก็เปลี่ยนมันเป็นพลังสร้างสรรค์ เธอจะวาดและตกแต่งที่นั่งคนขับของเรือหัวโทง ซึ่งเป็นเรือท้องถิ้นของกระบี่ เธอยินดีที่จะเป็นคนกุมโลกของเธอบนเรอ (ไม่ได้ต่างจากที่เธอทำปกติบนผ้าใบ) นอกเหนือจากนั้นเธอยังจะตกแต่งหัวเรือและหลังคาเรอด้วย นี่เป็นการประสานประเพณีการต่อเรืออันยาวนานเข้ากับวัฒนธรรมป็อปร่วมสมัย และเรือก็จะกลายเป็นดินแดนมหัศจรรย์ของเธอ ผู้ชมจะได้รับเชิญให้ขึ้นไปบนเรือและซาบซึ่ง กับการตีความตำนานท้องถิ้นกระบี่ของยุรีไปจนถึง จินตนาการถึงสิ่งเหนือธรรมชาติต่างๆ ไปพร้อมๆ กับ เดินทางไปในภูมิทัศน์ของงานนี้ นาวาพญานาคา แห่งกระบี่ (ซึ่งเป็นชื่อของเรอ) จะถูกใช้เป็นเรือข้ามฟากตลอด 4 เดือน ที่เข้าชมงานได้

Oliver LARIC

Oliver Laric เสนอที่จะฉายวิดีโอของเขาบนจอ LED ที่ติดตั้งในแยกที่มีการจราจรคับคั่งที่สุดในเมืองกระบี่ ศิลปินใช้เส้นสีดำง่ายๆ บนฉากหลังสีขาวในการทำแอนิเมชั่นซึ่งแสดงการเปลี่ยนแปลงรูปร่างของ สัตว์ วัตถุ และผู้คน ทุกๆ ฉากจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้น อย่างต่อเนื่องโดยไม่มีจุดจบหรือบทสรุป ศิลปิน ใช้แรงบันดาลใจและจุดอ้างอิงจากภาพต่างๆ ในประวัติศาสตร์ ตัวการ์ตูนที่ Laric ใส่ลงไปในวิดีโอ สามารถมองว่าเป็นหลักฐานทางโบราณคดีที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด และปรับตัวเพื่อที่จะเข้ากับสถานการณ์ใดก็ได้ วิดีโอนี้ไม่ได้เน้นไปที่การเปลี่ยนแปลงของต้วการ์ตูนในท้ายที่สุด แต่เป็นการสำรวจกระบวนการเปลี่ยนแปลงของตัวการ์ตูนมากกว่า เมื่อเราดูเส้นเล็กๆ และจุดเคลื่อนที่ไป บดไป ม้วนไป เพื่อจะสร้างตัวละครใหม่ๆ เราก็จะตระหนักว่า ไม่ว่าสิ่งต่างๆ จะใหญ่แค่ไหนในธรรมชาติแต่จุดเริ่มของมันคือสิ่งเล็กๆ เท่านั้น สิ่งที่ยิ่งใหญ่ต่างๆ ล้วนมีจุดเริ่มต้นที่จุดเล็กๆ

Giuseppe PENONE

ดังเช่นในหลายๆ ประเทศ การท่องเที่ยว และโลกาภิวัตร์นั้นกำลังคุกคามภูมิทัศน์ธรรมชาติของไทย งาน Alberi e pietre (ต้นไม้และก้อนหิน) เป็นซีรีส์งานของ Penone ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี 1969 ซึ่งเป็นการเริ่มต้นความสนใจในความสัมพันธ์ระหว่าง ธรรมชาติและมนุษย์ของเขา งานชิ้นนี้เป็นงานจัดวางเฉพาะพื้นที่ที่อยู่ใน สวนปากน้ำท่าเรือคงคา ประกอบไปด้วยต้นอัญมณีชวาห้าตัน และหินห้าก้อน ที่มีขนาดและรูปร่างต่างกัน ต้นไม้และหินทั้งหมด จะพิงกันและถูกจัดวางให้ค่อยๆ เอียงไปขนานกับพื้นดิน นี่เป็นการสร้างภาพของการเจริญเติบโตของต้นไม้ วัตถุดิบตามธรรมชาติเหล่านี้ถูกเก็บ มาจากพื้นที่โดยรอบโดยชาวสวนท้องถิ่นและทางศิลปินเป็นคนจัดวางรูปแบบงาน เมื่อจบนทิรรศการ งานจะหายไปทันที และองค์ประกอบต่างๆ ของงาน ก็จะกลับไปคืนที่ของมัน การสร้างสรรค์ของมนุษย์ นั้นต่างจากธรรมชาติตรงที่มันสร้างจินตนาการทางเลือกที่ไม่จีรังยั่งยืน

Ben Anocha & RIVERS SUWICHAKORNPONG

In the Holocene เป็นหนังสั้นเกี่ยวกับงานทางด้านภูมิทัศน์และเรื่องราวต่างๆ จากกระบี่ ภาพยนตร์เรื่องนี้เขียนบท และกำกับโดยสองผู้กำกับ ชื่อดัง Ben Rivers และ อโนชา สุวิชากรพงศ์ นี่เป็นครั้งแรกที่ศิลปินทั้งสองร่วมมือกัน Rivers มีชื่อเสียง ในการทำภาพยนตร์ทดลองที่คาบเกี่ยวระหว่าง การเป็นสารคดีและการเป็นเรื่องแต่ง งานของเขามักจะเชื่อมโยงกับการสำรวจพื้นที่ป่าที่คนไม่รู้จัก และการเสนอภาพเรื่องราวสมจริงของชีวิตแบบแนบชิด ส่วนภาพยนตร์ของอโนชานั้นก็มีตั้งแต่ภาพยนตร์ แบบเรียงความขนาดสั้นไปจนถึงภาพยนตร์เรื่องยาว เธอมีความสนใจในการฉายภาพลับที่ถูกซ่อนในประวัติศาสตร์ ไปจนถึงมุมมองแบบที่เห็นดาษดื่น ในชีวิตประจำวัน ทั้งคู่ทำงานร่วมกันเพื่อจะสร้างภาพยนตร์บนพื้นฐานของภูมิทัศน์ของกระบี่ มันมีทั้งเรื่องราวและฉากที่ทั้งศิลปิน ภัณฑารักษ์ และผู้ประสานงาน Biennale นั้นต้องประสบพบเจอในการทำงาน Biennale สำหรับงาน In the Holocene ที่จะฉายในเทศกาล Thailand Biennale จะเป็นเวอร์ชันที่ขยายไปเรื่อยๆ เพราะทั้งสองผู้กำกับก็จะยังถ่ายทำอย่างต่อเนื่องกระทั่งในช่วงที่เริ่มฉายภาพยนตร์

Kamol TASSANANCHALEE (เพิ่มพิเศษ)

ศิลปินแห่งชาติ กมล ทัศนาญชลี ได้สร้างงานในสื่อหลากหลายเพื่อที่จะนำเสนอความสัมพันธ์ ระหว่างชีวิต ประสบการณ์ วัฒนธรรม สิ่งแวดล้อม และศิลปะ งานของกมลจำนวนมากเป็นงานที่เขารับทำเพื่อที่จะนำไปจัดวางในพื้นที่สาธารณะ กมลทำตามคอนเซปต์ “Edge of the Wonderland” ของ Thailand Biennale 2018 โดยการสร้างโครงสร้าง ประติมากรรมขนาดใหญ่โดยได้รับแรงบันดาลใจ มาจากรูปทรงแว่นแบบขยายสองอัน ซึ่งจะจัดวางอยู่ ริมฝั่งแม่น้ำกระบี่ในใจกลางเมืองกระบี่ การวางงาน แบบเผชิญหน้ากับทิวทัศน์อันงดงามของธรรมชาติ เป็นการกระตุ้นให้ผู้ชมทำการสำรวจสภาพแวดล้อม อันงดงามของกระบี่ นอกเหนือจากนี้ กมลยังใส่ กระจกไปให้ผู้ชมงานได้เห็นภาพสะท้อนของตัวเอง ไปพร้อมๆ กับภาพใต้ผืนน้ำที่จะปรากฎบนจอ LED ซึ่งติดอยู่ที่ฐานของงาน ผลงานนี้จะเชื่อมโยงผู้ชม เข้ากับภาพจากแดนมหัศจรรย์ กับภาพของความเป็น จริงของพื้นที่โดยรอบ กับภาพของตัวผู้ชมเองที่อยู่ ในสิ่งแวดล้อมของกระบี่ และกับภาพที่มีประสบการณ์ เหนือจริงของโลกใต้บาดาล

Panya VIJINTHANASARN (เพิ่มพิเศษ)

สำหรับ Thailand Biennale 2018 ปัญญา วิจินธนสาร ได้สร้างงานจัดวางขนาดใหญ่โดยใช ชิ้นส่วนรถยนต์เป็นวัสดุหลัก งานนี้จะจัดวางที่ต้นไม้ ขนาดมหึมาริมชายฝั่งแม่น้ำกระบี่ ใกล้ๆ ตัวเมือง ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ธรรมชาติประสานเข้ากับเมือง รูปร่าง ของการจัดวางนั้นได้รับอิทธิพลมาจากแมงมุมและ ตะขาบ เพื่อเป็นการสะท้อนให้เห็นว่าชีวิตต่างๆ นั้นได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมโดยมนุษย์อย่างไร รูปวงรีจำนวนมากถูกตีความว่าเป็นไข่ของสัตว์เหล่านี้ ซึ่งจะทำให้มันแพร่พันธ์ุได้อย่างไม่มีการควบคุม สัตว์ที่ปัญญาสร้างขึ้นมาจะสื่อความจากตัวเขาที่มองว่ากระบวนการทาง อุตสาหกรรมและสังคมสมัยใหม่เป็นการรุกราน ธรรมชาติ มนุษย์ได้บริโภคทั้งธรรมชาติและโลก จนเสียสมดุลไปตลอดกาล ชีวิตไม่มีทางเลือกอันนอกจากจะต้องปรับตัวไปกับสภาพแวดล้อมแบบใหม่ เรากำลังจะเข้าสู่โลกมหัศจรรย์ใหม่ที่ชีวิตจะต้องดำรงอยู่กับธรรมชาติที่ถูกทำลายไป

WANG Yuyang (เพิ่มพิเศษ)

งาน Gone with Wind สำรวจความเป็นไปได้ ในอนาคตของการจัดนิทรรศการกลางแจ้ง เมื่อถึงตอนกลางคืน ลูกโป่งสีขาว 100 ลูก จะลอยอยู่ในอากาศ และจะมีการเปิดไฟสีสันสดใสให้กับมัน Wang Yuyang ได้เอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในงานของเขา ในขณะที่ความสว่างไสวของลูกโป่ง จะขึ้นอยู่กับว่าระบบเก็บแสงอาทิตย์มาได้มากขนาดไหน แต่สิ่งที่จะกำหนดสีของลูกโป่งคือลม จะมีการใช้ระบบบันทึกการเคลื่อนไหวของลูกโป่ง และไฟ LED ด้านในลูกโป่งก็มีสีอย่างหลากหลายตั้งแต่ แดง เหลือง ไปจนถึงสีฟ้าอ่อนและสีเขียว ซึ่งสีจะเปลี่ยนไปตามแรงลม และการลอยของลูกโป่ง ผลงานชิ้นนี้จะเป็นการทำให้สาธารณชนได้เห็น งานอันน่าตื่นตาและจับใจที่สุกไสวในความมืด และมันจะเป็นงานที่ทำให้เราได้เห็นสภาพอากาศที่ต่างกัน ไปในช่วงเวลา 4 เดือนของนิทรรศการ ยิ่งไปกว่านั้น งานชิ้นนี้ยังมีลักษณะแบบเฉพาะเจาะจงกับพื้นที่ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอีกด้วย

YANG Zhenzhong (เพิ่มพิเศษ)

Yang Zhenzhong ทำงานจัดวางที่ทดสอบ กฎเกณฑ์ของธรรมชาติโดยวางอยู่บนสนามหญ้าข้างแนวทางเดินบริเวณท่าเรือคงคา To be or not to be คือต้นไทร ที่ถูกปลูกแบบกลับหัวเรียงกันเป็น เส้นตรง 10 ต้น รากอันเปลือยเปล่าที่ชูขึ้นฟ้านั้น ขัดแย้งกับภาวะปกติที่เราจะเห็นได้ทั่วไปในพืชพรรณในประเทศไทย แต่นี่ก็ไม่ใช่ภาวะย้อนแย้งแบบเดียวที่ศิลปินนำเสนอ ศิลปินได้ขุดต้นไม้ขึ้นมาจากดิน จับมันกลับหัวแล้วเอากิ่งก้านของมันฝังลงในดินเพื่อที่จะท้าทาย และสำรวจความเป็นไปได้ของธรรมชาติ และพืช ว่าจะสามารถดำรงอยู่ได้หรือไม่ในภาวะสุดขั่วเช่นนั้น ตรรกะของชิ้นงานคือปฏิบัตการแบบเลยพ้นความเป็นจริง เพื่อเผยแพร่โลกคู่ขนานที่ซึ่งต้นไม้ถูกตีลังกาฝัง และรากที่ชี้ขึ้นฟ้าคือภูมิทัศน์ปกติทั่วไป

ศิลปินในงาน Thailand Biennale ที่จัดแสดงที่หาดไร่เล

Alfredo Isabel & AQUILIZAN 

Satellites Disk คือการรวมตัวของแท่นลอยน้ำ สามแท่นในที่ห่างออกไปของอ่าวไร่เล แต่ละแทนจะประกอบไปด้วยเรือหัวโทงเล็กๆ จำนวน 5 ลำ ที่ประกบกันเป็นรูปดอกจันทน์แปดกลีบ พวกมันถูกตกแต่งด้วยผ้าแพรหลากสี ดอกไม้ และเครื่องตกแต่งอื่นๆ ด้านบนของแต่ละแท่น จะมีพื้นที่ให้ผู้ชม สามารถใช้เป็นที่ทางสังคมหรือที่พักผ่อน ผลงานชุดนี้ คือการผลิตซ้ำอีกครั้งหนึ่งของโครงการ Satellite ที่ศิลปินได้สร้างสรรค์ร่วมกับช่างฝีมือท้องถิ่นทั่วเอเชีย และในออสเตรเลียมานานกว่าสามปี โดยเป็นส่วนหนึ่งของงานในภาพรวมที่มีชื่อว่า Another Country ซึ่งเป็นชุดผลงานที่มีรากฐาน มาจากชุมชน ด้วยการที่ศิลปินเลือกใช้วัสดุ และงานช่างเฉพาะท้องถิ่นนั้นๆ ด้วยเหตุนี้จานดาวเทียมในกระบี่ จึงเชื่อมโยงกับจานดาวเทียมอื่นๆ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นเครือข่ายศิลปะสาธารณะที่เชื่อมโยงกับอัตลักษณ์ที่เลื่อนไหล และต่อรองได้ มากกว่า อัตลกษณ์ที่ตายตัว

Aram BARTHOLL 

Perfect Beach HD อ้างถึงสิ่งที่เราได้ยินกันจนเบื่อ และความฝันเกี่ยวกับชายหาดเขตร้อน อันสมบูรณ์แบบซึ่งเป็นที่แปลกตาสำหรับการพักผ่อน และการลาพักร้อน แน่นอนนี่เป็นตัวแทนของภาพสวรรค์จากมุมของวัฒนธรรมตะวันตก งานชิ้นนี้ประกอบไปด้วยงานภาพพิมพ์ขนาดใหญ่หลายภาพ ที่แสดงหาดในเขตร้อนหลายเเห่ง โดยจะมีนักแสดง สองคนถือภาพนี้ไปรอบๆ พื้นที่หาดไร่เล ผู้เข้าชม งานเบียนนาเล่ครั้งนี้ และนักท่องเที่ยวจะได้รับเชิญมา โพสท่าถ่ายรูปข้างหน้าภาพชายหาดธรรมดา ๆ เหล่านี้เมื่อพวกเขามาเที่ยวหาดอันสวยงามของกระบี่ อันที่จรง ภาพเหล่านี้นำมาจากภาพสกรีนเซฟเวอร์ หรือภาพแบคกราวด์บนหน้าจอคอมพิวเตอร์ ที่มัก มีกฎเกณฑ์เฉพาะร่วมกันเช่นเรื่องสี ที่มีความฉ่ำสุดขีด หรือเรื่องที่ภาพถ่ายวันหยุดในชายหาดที่ปรากฏบนชายหาด เป็นการอ้างถึงตัวเองและตั้งคำถาม กับการรับรู้ของผู้มาเยือน ว่าอะไรคือความจริงใน ยุคสมัยของบรรทัดฐานแบบผูกขาดของโซเชียลมีเดีย นี่คือที่สุดของชายหาดจริงหรือ มีต้นปาล์ม ไม่กี่ต้นอยู่ริมทะเล โดยทั่วไปจะมีการตัดต่อภาพ เหล่านี้เพื่อแก้ไขภูมิทัศน์ให้ “ดีขึ้น” และทำให้หาดดูเป็น “หาดที่สมบูรณ์แบบ” มากที่สุด

Vong & Claire PHAOPHANIT OBOUSSIER

Vong Phaophanit และ Claire Oboussier ทำงานศิลปะสาธารณะที่ให้สังคมมีส่วนร่วมมาหลายชิ้นในรูปแบบของงานจัดวางขนาดใหญ่ และงานประติมากรรม งานของทั้งคู่ทำการสำรวจ ประเด็นเรื่องการพังทลายพรมแดน และรูปแบบต่างๆ ของการสร้างความหมายที่เลยพ้นไปจากพรมแดนของชาติ วัฒนธรรม และสังคม ในงาน Thailand Biennale 2018 Phaophanit และ Oboussier ได้เสนองานจัดวางที่เป็นการคลุมพื้นผิวเกาะเล็กๆ ที่อยู่หน้าหาดถ้ำพระนาง อันมีชื่อเสียงของกระบี่ด้วย ทองคำแท้ ความเปล่งปลั่งของทอง จะเริ่มจากด้านล่างสุดของเกาะ และค่อยๆ ลดน้อยลงไปด้านบนจนมันกลืนเป็นเนื้อเดียวกันกับพื้นผิวหิน นี่จะเป็นการสร้างเส้นแบ่งทองคำระหวางพื้นดินและทะเล ซึ่งเป็นขอบของเส้นแบ่งที่ค่อยๆ เปลี่ยนจนจางหายไป Gilding the Border ใช้ทองคำเพื่อเป็น ตัวแทนความเชื่อมโยงระหว่างประวัติศาสตร์ศาสนา พิธีกรรม และชีวิตผู้คน งานชิ้นนี้ชวนให้นึกถึง แสงสว่างอันลึกลับไปจนถึงการลงทุนทางการเงิน จากความเป็นอมตะ ไปจนถึงการสะสมความดี งานศิลปะนี้เชื่อมโยงพิธีกรรมศักดิ์สิทธิ์กับสิ่งทางโลกเข้าด้วยกัน และเชื่อมโยงสิ่งที่จับต้องไม่ได้ กับสิ่งที่จับต้องได้เข้าด้วยกัน และเสนอว่าบางที เราสามารถพบเห็นคุณค่าของจักรวาลได้ในโลกธรรมชาติ

Chusak SRIKWAN (เพิ่มพิเศษ)

สำหรับงาน Thailand Biennale 2018 ชูศักดิ์ ศรีขวัญ มีความชื่นชมพื้นที่ทางธรรมชาติและตำนานท้องถิ่นของถ้ำพระนาง ตำนานเล่าว่า ครอบครัว ตายมดึงต้องการมีลูกจึงไปวิงวอนขอให้พญานาค ประทานลูกให้ พญานาคตอบตกลงแต่ก็ตั้งเงื่อนไข ว่าหากครอบครัวตายมดึง มีลูกสาวจะต้องให้แต่งงาน กับลูกชายของตน กาลต่อมาครอบครัวตายมดึง ได้มีลูกสมความปรารถนาเป็นลูกสาวชื่อว่า ‘นาง’ นางเติบโตขึ้นจนเกิดความรักตามประสาหนุ่มสาว กับลูกชายครอบครัวตาวาปราบ ชื่อว่า ‘บุญ’ เมื่อพญานาคได้ทราบข่าวก็โกรธแค้นที่ครอบครัวตายมดึง ไม่รักษาสัญญาที่ว่าจะให้ลูกสาวแต่งงานกับลูกชายของตน ในงานแต่งงานพญานาคจึงจำแลง กายเป็นมนุษย์เข้าอาละวาดแย่งชิงตัวนาง ฤๅษีซึ่งบำเพ็ญตบะอยู่ ออกมาห้ามปรามแต่ก็ไม่เป็นผล สุดท้ายฤๅษีจึงสาปทุกอย่างให้กลายเป็นหิน เรือนหอกลายเป็น ‘ถ้ำพระนาง’ จากเรื่องนี้ ชูศักดิ์ ก็ได้สร้างตัวละครสามมิติต่างๆ ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็น พญานาค ฤๅษีและเสือ และทำการจัดวางในบริเวณ ถ้ำพระนาง งานเหล่านี้ใช้เทคนิคที่ได้รับอิทธิพล จากงานช่างฝีมือท้องถิ่นในภาคใต้ของไทย ทั้งความงาม ความเชื่อ เรื่องความรัก และเรื่องลึกลับเหล่านี้ ถูกนำเสนอในพื้นที่ที่ดำรงอยู่ทั้งในโลกของตำนาน และโลกของความเป็นจริง

Tori WRANES (เพิ่มพิเศษ)

Tori Wrånes สร้างผลงานข้ามสาขาที่นำดนตรี ทัศนศิลป์ และการแสดงมารวมกันเป็นหนึ่งเดียว Wrånes เติบโตขึ้นในประเทศนอร์เวย์ เธอเชื่อเรื่อง โทรลล์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในป่าตามตำนานพื้นบ้านของนอร์เวย์ โทรลล์มีหน้าตาอัปลักษณ์ และใช้ชีวิตตอนกลางคืน จึงเป็นตัวแทนของทุกแง้มุม ของการเป็น “มนุษย์” เนื่องจากโทรลล์ดำรงอยู่ เหนือบรรทัดฐานทางสังคม และโครงสร้างทางภาษา ซึ่งมีลักษณะของความเป็นลำดับชั้น ทัศนยีภาพ ชวนตะลึงของถ้ำพระนาง และชายหาดที่เธอได้เห็น ระหว่างการมาเยือนทำให้ Wrånes จินตนาการถึง ภาพของ ‘สิ่งมีชีวิตพื้นเมืองของกระบี่’ พร้อมสอดแทรกฉากชีวิตประจำวันที่เกิดขึ้นในแหล่งท่องเที่ยว แห่งนี้ การแสดงของ Wrånes ตลอดระยะเวลา 4 เดือนของงานเบียนนาเล่แบ่งออกเป็นสองส่วน ได้แก่ คอนเสิร์ตเปิดฉากที่เป็นการร่วมมือกับนักดนตรีท้องถิ่น โดยมีเสียงพูดของศิลปินประกอบเสียงปี่ ซึ่งเป็นเครื่องดนตรีพื้นบ้านของไทย กับ ส่วนของสิ่งมีชีวิตแห่งกระบี่ ที่จะปรากฏตัวทุกวัน ตลอดระยะเวลา 4 เดือนของเบียนนาเล่ครั้งนี้

งาน THAILAND BIENNALE, KRABI 2018 ณ จังหวัดกระบี่ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 2 พฤศจิกายน 2561 – 28 กุมภาพันธ์ 2562 มีผลงานกว่า 70 ชิ้น โดยศิลปินช้ันนําจากทั่วโลก ถูกจัดวางอยู่กลางแจ้งในพื้นที่ทาง ธรรมชาติ ในรูปแบบของศิลปะเฉพาะพื้นที่ (SITE-SPECIFIC INSTALLATION) ในบทความถัดไป Zipevent จะพาไปพบกับ ศิลปินดั่งกล่าวกัน ดูรายละเอียดได้ที่นี่

สามารถค้นหางานอีเว้นท์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่

Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิงก์นี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/%40khj7199c

Instagram: www.instagram.com/zipevent

Website: www.zipeventapp.com

Twitter: www.twitter.com/zipeventapp

Facebook: www.facebook.com/zipevent

Tori WRANES

Comments

comments