Trending Now

     นับถอยหลังสู่ Bangkok Art Biennale หรือ BAB 2018 เทศกาลศิลปะร่วมสมัยนานาชาติ ที่รวมศิลปินระดับโลกกว่า 33 ประเทศมาเนรมิตกรุงเทพฯ ให้กลายเป็นเมืองแห่งศิลปะ เช่นเดียวกับ Venice Biennale ประเทศเวนิส, Berlin Biennale เบอร์ลิน, Biennale de Paris ปารีส และ Singapore Biennale สิงคโปร์ ซึ่งใน Bangkok Art Biennale ชวนให้ทุกคนไปค้นหานิยามแห่งความสุขภายใต้ธีม ‘สุขสะพรั่ง พลังอาร์ต’ หรือ Beyond Bliss ในวันที่ 19 พ.ย. 2561 ถึง 3 ก.พ. 2562  

bienale

     โดยการจัดแสดงผลงานของศิลปินกว่า 75 ชีวิตจะกระจายไปตามสถานที่ที่สะท้อนถึงความเป็นเมืองในกรุงเทพฯ รวมถึงตามสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมเลียบทางแม่น้ำเจ้าพระยาอย่าง วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร, วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร, วัดประยุรวงศาวาสวรวิหาร, ตึกอีสต์เอเชียติก 

     ขนานไปกับเส้นทางรถไฟฟ้า-รถไฟใต้ดิน ตั้งแต่หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร, ศูนย์การค้าสยามดิสคัฟเวอรี, สยามพารากอน, เซ็นทรัลเวิลด์, เซ็นทรัล เอ็มบาสซี, ดิ เอ็มโพเรียม, ดิ เอ็มควอเทียร์, วัน แบงค็อก ไปจนถึงสวนลุมพินี

     นี่คือส่วนหนึ่งในความอลังการ ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่บ้านเรามีงานเทศกาลศิลปะสเกลใหญ่ขนาดนี้ ดังนั้นเราเลยไม่พลาดที่จะพาทุกคนไปรู้จัก 5 ศิลปินระดับโลกที่คุณต้องรู้จัก!! ในเทศกาล Bangkok Art Biennale 2018 รับรองว่าสมการรอคอยอย่างแน่นอน..

Yayoi Kusamaยาโยอิ คุซามะ

bienale

     ยาโยอิ คุซามะ คืออาร์ติสท์ชาวญี่ปุ่นอายุเกือบ 90 ปี ที่หลงใหลการใช้ลายจุดมากมายในการรังสรรค์ลงบนชิ้นงานของเธอ โดยเธอเริ่มวาดภาพมาตั้งแต่เด็กๆ เพื่อเผยแพร่ภาพหลอน (hallucinations) ของเธอ ที่ทำให้เธอมักเห็นภาพต่างๆ เต็มไปด้วยลายจุด แม้กระทั่งท้องทุ่งรอบๆ บ้านของเธอก็เต็มไปด้วยจุดเช่นเดียวกัน 

     “ตาข่ายไร้ที่สิ้นสุด” (infinity net) คือผลงานยุคแรกๆ ที่นิวยอร์คของเธอ เป็นงานที่ประกอบไปด้วยจุดเล็กๆ ซ้ำๆ กระจายไปทั่วผืนผ้าใบอย่างไม่สิ้นสุด นั่นคือสิ่งที่สามารถสะกดจิตทั้งผู้ชมและตัวศิลปินเองได้อยู่หมัด ซึ่งงานในยุคนั้นบังเอิญไปได้ดีกับกระแสลัทธิศิลปะแบบมินิมัล รวมถึงยังขยับเข้าสู่กระแสแบบป็อบอาร์ทและศิลปะสื่อการแสดงได้อีก สิ่งนี้ทำให้เธอกลายเป็นหนึ่งในศูนย์กลางของศิลปินนิวยอร์คอวองการ์ด

bienale

     ในต้นยุค 60s คุซามะเริ่มแสดงงานลายจุดอย่างต่อเนื่อง และในงาน Accumulation No. 1 (1962) เก้าอี้คลุมด้วยผ้าและมีประติมากรรมนุ่มๆ รูปลึงค์เล็กๆ ทำจากผ้าสีขาวติดอยู่ ทำให้เริ่มมีประเด็นทางเพศเข้ามา ห่างกันไม่กี่ปี ได้มีงานอีกในชื่อ Infinity Mirrow Room – Phalli’s Field (1965) สร้างห้องกระจกที่เต็มไปด้วยรูปลึงค์บุนวมระบายด้วยจุดแดงเล็กๆ เป็นร้อยลูก  กระจกในห้องทำให้เกิดมุมมองไม่สิ้นสุดให้งานของเธอ และกลายเป็นองค์ประกอบสำคัญในงานต่อๆ มา

bienale

 ephst / Shutterstock.com

bienalebienalebienale

Marina Abramovicมารีนา อบราโมวิช

bienale

     อบราโมวิช เป็นศิลปินหญิงเพอร์ฟอร์แมนซ์อาร์ตจากสหพันธ์สาธารณรัฐ ยูโกสลาเวีย วัย 71 ปี ที่ทรงอิทธิพลที่สุดของปลายศตวรรษที่ 20 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน กับศิลปะการแสดงถึงเลือดและจิตวิญญาณที่ว่าด้วยการสื่อสารผ่านร่างกายของเธอ

     โดยใช้ร่างกายเป็นตัวสื่อประเด็นหลักในเรื่องการทดลองขีดจำกัดของร่างกายและจิตใจผ่านกิจกรรมพื้นฐานในชีวิตประจำวัน ไปจนถึงการอดทนต่อความเจ็บปวด ความเหนื่อยยาก ด้วยความเชื่อที่ว่า “การได้เผชิญกับความเจ็บปวด และอ่อนล้าทางกาย จะทำให้เราตระหนักถึงการมีตัวตนอยู่จริง” ดังนั้นผลงานของเธอมักเป็นผลงานที่ทำให้ผู้ชมเป็นผู้แสดงร่วมมากกว่าการแค่นั่งชม เธอจึงเป็นหนึ่งในผู้บุกเบิกที่ทำให้งานเพอร์ฟอร์แมนซ์ หรือการแสดงสดได้รับการยอมรับในสถานะงานศิลปะ

bienale

© 2010 Scott Ruddwww.scottruddphotography.comscott.rudd@gmail.com

     ช่วงต้นคริสต์ทศวรรษ 1970s เธอเริ่มทำงานศิลปะการแสดงสด เช่นผลงานอันโด่งดังอย่าง Rhythm O, ปี พ.ศ. 2517 ที่เบลเกรด โดยที่อบราโมวิชแนะนำตัวเองในฐานะวัตถุชนิดหนึ่ง และอนุญาตให้ผู้ชมทำอะไรกับร่างกายเธอก็ได้ตามใจเป็นเวลา 6 ชม. โดยใช้อุปกรณ์ 72 ชิ้น ที่จัดไว้ให้ ตั้งแต่ของใช้ทั่วไปจนถึงของมีคม และเป็นการแสดงที่ทำให้ศิลปินเองก็ยอมรับว่าช็อคเมื่อได้สัมผัสว่ามนุษย์นั้นโหดร้ายได้ขนาดไหน หลังจากนั้นเธอก็ผลิตผลงานขึ้นอีกเป็นระยะ แถมยังน่าทึ่งขึ้นเรื่อยๆ ไม่มีที่สิ้นสุด 

bienalebienalebienalebienale

     มารีนา อบราโมวิช ยังก่อตั้ง สถาบัน มารีนา อบราโมวิช  (MAI) เพื่อสร้างศิลปินรุ่นใหม่ ให้เติบโตทางความคิด อย่างไร้ขีดจำกัด เพราะ สำหรับเธอนั้น ศิลปะทุกแขนงสามารถนำมารวมกันเพื่อสร้างสรรค์สิ่งใหม่ได้เสมอ

CHOI JEONG HWAชเว จอง ฮวา

bienale

     ชเว จอง ฮวา เป็นศิลปินและนักออกแบบจากเกาหลีใต้ เขาถนัดทั้งงานทัศนศิลป์ ออกแบบกราฟิค อุตสาหกรรมและสถาปัตยกรรม ความพิเศษของเขา คือ การไม่ยึดติดกับระบบการจัดแสดงงานในพิพิธภัณฑ์ เขาเลือกที่จะติดตั้งผลงานของเขาบริเวณด้านนอกอาคารแทน เช่น การเล่นกับพื้นที่สาธารณะ เพื่อให้มีผู้ชมที่หลากหลายสภานะ และเปิดกว้างทางความคิดและจินตนาการให้ผู้เสพสามารถตีความวิพากย์วิจารณ์ได้ตามประสบการณ์ของแต่ละคน ดังคำกล่าวประจำใจของเขา “Your heart is My art” หรือ หัวใจของคุณคืองานศิลปะของผม โดยเขาได้รับแรงบันดาลใจมาจากสภาพแวดล้อมรอบตัว ที่ปะปนไปด้วยความสุข และความวุ่นวาย ดังนั้นงานของเขามักจะเต็มไปด้วยสีสันสดใสเสมอ

bienalebienale

     เช่น การเนรมิตให้สนามกีฬาโซลโอลิมปิค สเตเดียม แห่งนั้นกลายเป็นอัญมณีที่ส่องแสงเปล่งประกายไปด้วยพวงมาลัยที่ทำจากขยะรีไซเคิลกว่า 2 ล้านชิ้น รวมถึงงานดอกไม้พลาสติกขนาดใหญ่ที่เคลื่อนไหวราวกับหายใจได้ เพื่อสะท้อนแนวความคิดเรื่องความเทียมและความไม่คงทนถาวร

HUANG YONG PINGหวง หย่ง ผิง

bienale

by Eileen Kinsella

     หวง หย่ง ผิง เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งกลุ่มศิลปิน “เซี๊ยะเหมิน ดาด้า” (Xiamen Dada) เป็นพื้นที่ที่เปิดให้ศิลปินวัยหนุ่มสาวที่มีความตั้งใจอยากจะปฎิวัติวงการศิลปะในจีนได้ออกมาสร้างสรรค์ผลงาน โดยการรวบเอาแนวคิดพุทธศาสนาลัทธิเต๋าแบบจีน ผสานผสานเข้ากับความเชื่อแบบลัทธิดาด้า ซึ่งเป็นลัทธิที่เน้นการเยาะเย้ยสังคม จากฝั่งยุโรป ให้ออกมาเป็นผลงานที่ฉีกกฎเกณฑ์ความงามศิลปะแบบดั้งเดิม ให้เป็นชิ้นงานที่ต่อต้านสังคม 

bienale

     ผลงานชื่อ the Historoy of Chinese Painting and the History of Modern Western Art Washed in the Washing Machine for Two Minutes ทำขึ้นในปี พ.ศ. 2530 นับเป็นงานสำคัญที่สะท้อนอิทธิพลของลัทธิดาด้าในยุคเริ่มต้นของ หย่ง ผิง ซึ่งเขานำหนังสือที่เป็นตัวแทนของประวัติศาสตร์ทั้งสองด้าน จำนวน 2 เล่มมาปั่นในเครื่องซักผ้า

bienalebienale

     ในปี พ.ศ. 2532  หวง หย่ง ผิง ได้เข้าร่วมแสดงในการนิทรรศการ “Les Magiciens de la Terre” ที่ the Centre Pompidou และที่ the Grande Halle de la Villette กรุงปารีส ฝรั่งเศส ซึ่งในขณะเดียวกันก็เกิดเหตุการณ์ปราบปรามผู้ประท้วงรัฐบาลที่จัตุรัสเทียนอันเหมิน ประเทศจีน ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่ทำให้เขาตัดสินใจเปลี่ยนสัญชาติเป็นฝรั่งเศส และย้ายไปใช้ชีวิตอยู่ที่ปารีส หวง หย่ง ผิง กลายเป็นที่รู้จักจากการสร้างผลงานขนาดมหึมา ที่เต็มไปด้วยแนวคิดรูปธรรมแบบล้ำลึก แฝงใว้ในทุกชิ้นงาน โดยใช้เทคนิคการจัดวาง (Installations) เป็นหลัก

Lee Bul อี  บุล 

bienale

     อี บุล เป็นศิลปินหญิงจากเกาหลีใต้ที่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางจากงานประติมากรรมแบบโลกอนาคต ใช้เทคนิคพิเศษเฉพาะ บวกกับโครงสร้างเชิงสถาปัตยกรรมที่มีมิติและกินพื้นที่ขนาดใหญ่ งานของเธอสะท้อนผลพวงของความทันสมัย ศักยภาพของเทคโนโลยี เพศสภาพ และขีดจำกัดระหว่างความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเครื่องจักร ตลอดจนบทบาทของวัฒนธรรมป็อบต่อการสร้างอัตลักษณ์ของปัจเจกชน และความลุ่มหลงของมนุษย์ในความสมบูรณ์แบบ ซึ่งตัวเธอเองมีความสามารถหลากหลายไม่ว่าจะเป็นงานวาดเส้น, ศิลปะสื่อการแสดงสด, ประติมากรรม หรือศิลปะจัดวางและวิดีโอ ทำให้เธอมีผลงานหลายด้านมากว่า 20 ปี

bienale

Lee Bul exhibition at Hayward Gallery, London. Photo by Linda Nylind. 26/5/2018. by elephant.art

     ซึ่งในยุคแรก เป็นยุคเศรษฐกิจภายใต้เผด็จการรัฐบาลทหาร ช่วงคริสต์ทศวรรษ 80s เธอค่อนข้างกบฎต่อระบบการศึกษาและสังคมที่แข็งตัว เธอจึงเริ่มจากทดลองทำงานศิลปะสื่อการแสดงสดในที่สาธารณะเช่น สนามบิน ใจกลางเมือง ที่เปรียบเป็นสัญลักษณ์ของความเจริญ เพื่อทดสอบปฎิกิริยาจากผู้ชม ต่อมาบุลได้สร้างงานที่ชื่อ Untitled (Cravings Black) เธอสวมชุดสัตว์ประหลาดขนาดใหญ่ที่มีรูปทรงบิดเบี้ยว เดินอยู่บนท้องถนนในเกาหลี่ใต้ และญี่ปุ่น ซึ่งเธอได้นำนำอวัยวะจากร่างกาย เช่นแขน ขา ลำไส้ มาทำให้ดูบิดเบี้ยว ในลักษณะประติมากรรมผ้าที่นุ่มนิ่ม ในปีเดียวกันเธอมีผลงานการแสดงสดชื่อ Abortion โดยห้อยหัวจากเพดาน ในร่างเปลือยเปล่า เปล่งข้อความในขณะเผชิญหน้ากับความเจ็บปวดของร่างกาย  

bienalebienale

      และโครงการ Willing To Be Vulnerable เป็นโครงการที่อธิบายความเป็นบุลได้เป็นอย่างดี ซึ่งจัดแสดง ในเทศกาลศิลปะ ซิดนีย์ เบียนนาเล ออสเตรเลีย ในปี พ.ศ. 2559 บนเกาะคอคคาทู กับพื้นที่โรงงานอุตสาหกรรมที่เลิกใช้งานแล้ว ครอบคลุมพื้นที่ 1,640 ตรม. มีทั้งเครื่องบิน เหล็ก พลาสติก และวัสดุอื่นๆ ที่หลากหลาย มาประกอบร่างกับกลไกไฮโดรลิก เกิดการเคลื่อนไหวขยายจนเต็มพื้นที่ คล้ายเป็นดินแดนที่เชื่อมโยงความทรงจำ และโลกอนาคตที่มนุษย์ใฝ่ฝันหา งานนี้นับเป็นผลงานขนาดมหึมาเลยทีเดียว

bienale

by www.afr.com

     นอกจากศิลปิน 5 คนนี้แล้ว ยังมีอีกกว่า 70 ศิลปินระดับโลกรอให้คุณไปเสพผลงานอันน่าทึ่งแบบใกล้ๆ ไม่ต้องบินไปถึงต่างประเทศ จัดขึ้นในวันที่ 19 พ.ย. 2561 ถึง 3 ก.พ. 2562  รอบเมืองกรุงเทพฯ กว่า 20 แห่ง ซึ่งถือว่าระยะเวลาค่อนข้างยาวเลย งานนี้ต้องไม่พลาดนะคะ แล้วเจอกันค่าาา  

#BangkokArtBiennale #BAB2018 #SiamParagon #BeAmazed#AGlobalDestinationOfExtraordinaryExperiences

ขอขอบคุณข้อมูลจาก bkkartbiennale, travel.mthai

สามารถค้นหางานอีเว้นท์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ Line: @Zipevent Instagram: zipeventWebsite: www.zipeventapp.comTwitter : @zipeventappFacebook: @zipevent

Comments

comments

Author