Trending Now

อาหารไทย เป็นอาหารประจำชาติของคนไทย ที่มีการสั่งสม และถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย ขณะที่อาหารพื้นบ้าน หมายถึง อาหารที่นิยมรับประทานกันเฉพาะท้องถิ่น ซึ่งเป็นอาหารที่ทำขึ้นได้ง่าย โดยอาศัยพืชผัก หรือเครื่องประกอบอาหารที่มีอยู่ในท้องถิ่น มีการสืบทอดวิธีปรุง และการรับประทานต่อๆ กันมา กินดี อยู่ดี

อาหารไทย อันทรงคุณค่า เป็นมาอย่างไรบ้าง

อาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของ อาจารย์กอบแก้ว นาจพินิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้

สมัยสุโขทัย

อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกันกับเนื้อสัตว์ ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง กินผลไม้เป็นของหวาน การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า “แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตง และน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอก และน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน

สมัยอยุธยา

สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย หรือยุค กินดี อยู่ดี ได้มีการติดต่อกับต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตก และตะวันออก จากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าย ยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกง และคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหาร แต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าว และกะทิมากกว่าไขมัน หรือน้ำมันจากสัตว์มาทำ

คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่น การนำไปตากแห้ง หรือ ทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่น น้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา และอาหารอยุธยา เช่น หนอนกะทิ วิธีทำคือ ตัดต้นมะพร้าว แล้วเอาหนอนที่อยู่ในต้นนั้นมาให้กินกะทิ แล้วก็นำมาทอดกลายเป็นอาหารชาววัง

หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติ ที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติต่างๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปน เปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้น ในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรี ทั้งทางการทูต และทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่ แพร่หลายอยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไปในที่สุด

สมัยธนบุรี

จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2 ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทยจากกรุงสุโขทัยมาถึงสมัยอยุธยา และสมัยกรุงธนบุรี และยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์ โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน

สมัยรัตนโกสินทร์

พ.ศ. 2325–2394 อาหารไทยในยุคนี้เป็นลักษณะเดียวกันกับสมัยธนบุรี แต่มีอาหารไทยเพิ่มขึ้นอีก 1 ประเภท คือ นอกจากมีอาหารคาว อาหารหวานแล้วยังมีอาหารว่างเพิ่มขึ้น ในช่วงนี้อาหารไทยได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรมอาหารของประเทศจีนมากขึ้น และมีการปรับเปลี่ยนเป็นอาหารไทย ในที่สุด จากจดหมายความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี ที่กล่าวถึงเครื่องตั้งสำรับคาวหวานของพระสงฆ์ ในงานสมโภชน์ พระพุทธมณีรัตนมหาปฏิมากร (พระแก้วมรกต) ได้แสดงให้เห็นว่ารายการอาหารนอกจากจะมีอาหารไทย เช่น ผัก น้ำพริก ปลาแห้ง หน่อไม้ผัด แล้วยังมีอาหารที่ปรุงด้วยเครื่องเทศแบบอิสลาม และมีอาหารจีนโดยสังเกตจากการใช้หมูเป็นส่วนประกอบ เนื่องจากหมูเป็นอาหารที่คนไทยไม่นิยม แต่คนจีนนิยม

พ.ศ. 2395–ปัจจุบัน หรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 ประเทศไทยมีการพัฒนาอย่างมาก และมีการตั้งโรงพิมพ์แห่งแรกในประเทศไทย ดังนั้น ตำรับอาหารการกินของไทยเริ่มมีการบันทึกมากขึ้น โดยเฉพาะในสมัยรัชกาลที่ 5 เช่นในบทพระราชนิพนธ์เรื่องไกลบ้าน จดหมายเหตุ เสด็จประพาสต้น เป็นต้น และยังมีบันทึกต่างๆ โดยผ่านการบอกเล่าสืบทอดทางเครือญาติ และบันทึกที่เป็นทางการอื่น ๆ ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นลักษณะของอาหารไทย ที่มีความหลากหลายทั้งที่เป็น กับข้าวอาหารจานเดียว อาหารว่าง อาหารหวาน และอาหารนานาชาติ ทั้งที่เป็นวิธีปรุงของราชสำนัก และวิธีปรุงแบบชาวบ้านที่สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน

สำรับอาหารไทย สมดุลอย่างไม่น่าเชื่อ

ในทุกๆ ยุคของอาหารไทย จะเห็นว่าไขมันที่ใช้ จะมาจากกะทิ และน้ำมันหมู แต่น้อยกว่าอาหารฝั่งตะวันตกมาก และถูกใช้น้อยมาก อาหารไทย เป็นอาหารที่ครบ 5 หมู่ เพราะใช้วัตถุดิบหลากหลายสดใหม่จากธรรมชาติ เน้นผักผลไม้เป็นหลัก มีเนื้อสัตว์บ้างซึ่งส่วนใหญ่เป็นปลา เพราะเป็นแหล่งโปรตีนดี ย่อยง่าย และมีไขมันดีคือ โอเมก้า 3 พิจารณาที่ “กับข้าว” มีสารอาหาร และพลังงานครบถ้วนเพียงพอ เครื่องเคียง เช่น กลุ่มผักพื้นบ้าน ซึ่งมีทั้งผักสดผักต้ม ผักดอง สรรพคุณช่วยให้ธาตุทั้ง 4 สมดุล การเผาผลาญและระบบย่อยจึงทำงานได้ดี

ของหวาน แม้จะมีกะทิ แป้ง และน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ทำให้มีไขมันและน้ำตาลสูง แต่คนไทยสมัยก่อนมีวิธีการกินของหวานที่ถูกสัดส่วน คือ กินของหวาน “ล้างปาก” หมายถึง กินแค่ชิ้นเล็กๆ หรือถ้วยเล็กๆ ไม่ได้กินปริมาณมาก และบ่อยครั้งเหมือนคนยุคปัจจุบัน ส่วนผลไม้ที่ใช้กินแทนของหวาน และของว่างระหว่างมื้อก็พบว่ามีทั้งใยอาหาร เกลือแร่ และวิตามินที่จำเป็นต่อร่างกาย

นี่ยังไม่รวมถึง รูปแบบการใช้ชีวิตของบรรพบุรุษไทยในอดีต ที่ต้องออกแรงทำการเกษตรในเถือกสวนไร่นาเป็นประจำ จึงได้ขยับร่างกายซึ่งกระตุ้นให้เกิดการเผาผลาญอยู่เสมอ เมื่อไม่มีพลังงานและไขมันส่วนเกินสะสม สุขภาพจึงแข็งแรง กินดี อยู่ดี ที่แท้จริง

งาน กินดี อยู่ดี by ชีวจิต

กินดี อยู่ดี

กินดี อยู่ดี by ชีวจิต วันที่ 1 – 4 พฤศจิกายน 2561 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี งานกินดี อยู่ดี by ชีวจิต ช้อปสินค้า สุขภาพ อาหาร เครื่องดื่ม ผัก ผลไม้ กว่า 200 บูธ ชิมข้าวไทยพันธุ์พื้นเมืองกว่ายี่สิบสายพันธุ์ พร้อมเมนูอาหารและเครื่องดื่มป้องกันโรค สนุกกับกิจกรรมออกกำลังกายปรับสมดุลร่างกายและจิตใจ อยู่ดี อารมณ์ดี กับเมนทัลโค้ช ชื่อดัง อัพเกรดวิธีคิด และจิตใจ ระหว่างวันที่ 1 – 4 พฤศจิกายน 2561 เวลา 10.00 – 21.00 น. ณ ฮอลล์ 5 อิมแพ็ค เมืองทองธานี

กินดี อยู่ดีกินดี อยู่ดีกินดี อยู่ดีกินดี อยู่ดี

สามารถค้นหางานอีเว้นท์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่ Line: @Zipevent Instagram: zipeventWebsite: www.zipeventapp.comTwitter : @zipeventappFacebook: @zipevent

ขอบคุณข้อมูลที่มาจาก นิตยสารชีวจิต และ Google Site ของคุณอัญชลี ดีกระสัง และคุณเจนจิรา กนขุนทด และวิกิพีเดีย

Comments

comments