Trending Now

มิวเซียมสยาม ขอเชิญทุกคนร่วมค้นหาความหมายกับกิจกรรม : ถอดรหัส “กลอักษร” ไทย เนื่องในโอกาสพิเศษ วันพิพิธภัณฑ์ไทย (๑๙ กันยายน) ชวนทุกคนร่วมค้นหาและเรียรู้เรื่องราวการถอด “กลบท” ที่ดึงความรู้ในเรื่องราวของ “ภาษาไทย” จากในห้อง “ไทยแปลไทย” เนื้อหาองค์ความรู้ของนิทรรศการถาวร “ถอดรหัสไทย” ที่นำเสนอเรื่องราวความเป็นไทยในแง่มุมต่างๆ หลากหลาย ได้เรียนรู้ถึงความมหัศจรรย์ของภาษาไทย และอัจฉริยะของผู้นำภาษาไทยมาใช้อย่างน่าสนใจ พร้อมสร้างแรงบันดาลใจในการนำภาษาไทยไปต่อยอดได้อย่างหลากหลาย

ดหถลอัว “งรหังวล” ไบจ

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

ในส่วนแรกของงานกิจกรรม : ถอดรหัส “กลอักษร” ไทย เป็นการปูพื้นฐานให้มีความเข้าใจถึงที่มา หลักการของกลอักษร ซึ่งบรรยายโดยอาจารย์พรเทพ โตชยางกูร อาจารย์จากคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยามหิดล บอกเลยว่า ใครที่ลืมรูปแบบของโคลงสี่สุภาพไปแล้ว ที่นี่อาจารย์ท่านเคาะฝุ่นให้เลย ต้องบอกอีกอย่างหนึ่งว่า การบรรยาย ไม่ได้ลึกซึ้งมาก เป็นในเวอร์ชั่นที่เข้าใจง่าย และในบางช่วงก็มีความว้าวในความสามารถของคนไทยในสมัยก่อนด้วย

กลบท คืออะไร

กลบท คือ คำประพันธ์ที่นักกวีแต่งเพื่อพลิกแพลงให้มีลักษณะวิจิตรพิสดารมากขึ้น ลักษณะบังคับตามปรกติ แล้วทำให้เป็นระเบียบที่สม่ำเสมอ เพื่อแสดงถึงชั้นเชิงและการใช้ฝีปากในบทกวี และเพื่อให้คำประพันธ์นั้นงดงามขึ้น อาจมีชื่อเรียกต่างกัน ตามแต่ที่นักกวีกำหนด โดยกลบทมีทั้งหมด ๕ ประเภท ได้แก่ กลโคลง กลฉันท์ กลกาพย์ กลกลอน และกลร่าย

กลบท แบ่งออกเป็น ๒ แบบ

แบบแรกคือ กลบทแบบกำหนดบังคับเพิ่มมากกว่าปกติ แบบย่อยได้อีก ๕ แบบ ได้แก่ บังคับเสียง บังคับคำ บังคับทั้งเสียงและคำ บังคับอักขรวิธี และบังคับฉันทลักษณ์ กลบทแบบกำหนดบังคับเพิ่มมากกว่าปกติใช้เป็น เสมือนเครื่องปรุงเสน่ห์ให้กับงานประพันธ์ ตัวอย่างงานประพันธ์ที่มีการใช้กลบทลักษณะนี้เข้ามา เช่น กลบทศิริวิบุลกิตติ์, หนังสือจินดามณี หรือประชุมจารึกวัดพระเชตุพน

แบบที่สองคือ กลบทแบบวางอักษรซ่อนรูปลวงตาให้ฉงนเรียก “กลอักษร” หรือ “กลแบบ” แบ่งได้เป็นหลายแบบ ดังนี้

กลอักษรแบบแทนรหัส

ในตำราจินดามณีนั้น ได้มีการเรียนการสอนถึงอักษรเลข ซึ่งแทนสระต่างๆ ดังนี้

เลข ๑ เป็น ตีนหนึ่ง (สระ อุ)

เลข ๒ เป็น ตีนคู้ (สระ อู)

เลข ๓ เป็น ไม้เอ (สระ เอ)

เลข ๓ สองตัวเป็น ไม้แอ (สระ แอ)

เลข ๔ เป็น วิสรรชนีย์ (สระ อะ)

เลข ๕ เป็น ไม้ผัด (ไม้หันอากาศ)

เลข ๖ เป็น ไม้ไอ (สระ ไอ หรือ สระ ใอ)

เลข ๗ เป็น พินหัว (สระ อิ)

เลข ๘ เป็น ไม้โอ (สระ โอ)

เลข ๙ เป็น ลากข้าง (สระ อา)

จะเห็นได้ว่า ในอักษรเลขนั้น ไม่มีสระ อี สระ อึ หรือสระ อือ อยู่ด้วย ซึ่งความจริงแล้ว สระ อึ มาจากการรวมของ เลข ๗ กับ ํ (ํ เรียกว่า นฤคหิต หรือ หยาดน้ำค้าง) เช่น ถ๗ํง = ถึง ในส่วนของ สระ อือ มาจากการรวมของ เลข ๗ กับ ” (” เรียกว่า ฟันหนู) และสุดท้าย สระ อี มาจากการรวมของ เลข ๗ กับ ‘ (‘ เรียกว่าฝนทอง)

นอกจากการแทนรหัสด้วยตัวเลขแล้ว ในหนังสือประชุมลำนำฯ ของหลวงธรรมมาภิมณฑ์ (ถึก จิตรถึก)(น.๗) กล่าวถึงสูตรที่พระปิฎกโกศล (อ่วม) ทำไว้ในปทานุกรม ว่า

กาเหงา เจ่าอยู่ เขาคูขัน ตนนั้น โบกทง ลงร่าร่อน  ชังโฉ โอหัง สังวาลวอน ฆ่าฌาน ญานฑอน ซ้อนเฒ่าฒอ ไปมา ผ่าพง ธงฝา ไฟฮือ ฬือภา  ด เป็น ถ

     อธิบายเพิ่มเติมได้ว่า นอกจากการแทนรหัสด้วยตัวเลข ยังมีการแทนรหัสด้วยอักษร ในบทประพันธ์จะหมายความว่า ‘ก’ สลับกับ ‘ง’ ‘จ’ สลับกับ ‘ย’ ในบทประพันธ์นี้ จะไม่พบ ‘ฎ’ และ ‘ฏ’ ใช้เหมือนกับ ‘ด’ ได้เลย ดังนั้นจากหัวข้อแรกที่ว่า ดหถลอัว “งรหังวล” ไบจ จะแปลงเป็นได้ว่า ถอดรหัส “กลอักษร” ไทย

กลอักษรแบบจัดบังคับ

ในที่บรรยายในวันนี้ คือ จัดบังคับให้อยู่ในรูปของ โคลงสี่สุภาพ

กลอักษรแบบนับ

มีการนับ ๒ แบบ คือ กลไทนับ ๓ และ กลไทนับ ๕ ในที่บรรยายได้ยก โคลงบทสังขยา โคลงกลบทวัดพระเชตุพน, ๒๕๔๔ คือ

งามคมเนตรคิ้วพื้นภพสามดูฤๅเหนเทียบสวาสดิ์ทรามถนอมนึกน้องเสน่ห์ตื้น

ถอดได้เป็น

งามคมเนตรคิ้วเนตร   คมงามพื้นภพสามดูสาม           ภพพื้นฤๅเหนเทียบสวาสดิ์ทราม   สวาสดิ์เทียบ เหนฤๅถนอมนึกน้องเสน่ห์ตื้น     เสน่ห์น้องนึกถนอม

กลอักษรแบบสลับ

ในที่บรรยายนี้เราใช้ กลฤๅษีแปลงสาร คือการแต่งยักเยื้องออกไปให้ผิดธรรมดา เช่น

กอัรษรวณษกลันวล้     งลพเลพาอชื่ฤรีษงลปแรสา            บสืว้ไดลัผนยพี้เนยลี่ปเนอลกรกา ยลากบลักนสห์ท่เห์ล่เบลัห้ใ              นอ่านล้หเนป็เมษกเ

ถอดได้เป็น

อักษรวรลักษณล้วน         เพลงพาลชื่อฤษรีแปลงสาร            สืบไว้ผลัดเพี้ยนเปลี่ยนกลอนการ กลายกลับสนเท่ห์เล่ห์ลับให้              อ่านเหล้นเป็นเกษม

กลอักษรแบบ จับตัวซ้ำ ย้ำเดินหน้า ย้ำถอยหลัง

กลโคลงที่นำมาอธิบายวิธีการนี้ ได้แก่ กลโคลงดาวล้อมเดือน

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

รูปถ่ายกลโคลงดาวล้อมเดือน จากตำราประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ

ถอดออกมาได้บทประพันธ์ว่า

ผลบุญบุญเกื้อกอบ   ยศศักดิ์ผลบาปบาปชวนชัก    ชั่วให้ผลสัตย์สัตย์ประจักษ์  คุณแน่ นาพ่อผลเท็จเท็จโทษได้      เที่ยงแท้แก่ตน

ในส่วนของ ๓ กิจกรรมสุดบันเทิงใน ถอดรหัส “กลอักษร” ไทย

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทยถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

เริ่มเดินออกจากห้องบรรยายที่ มิวเซียมสยาม เดินมาเรื่อยๆ ที่วัดโพธิ์ ทีมงานของกิจกรรมนี้ ได้แบ่งเป็นกลุ่มๆ และให้เล่นกิจกรรมทั้ง ๓ โดยที่แต่ละฐานกิจกรรม จะต้องใช้ความรู้จากห้องบรรยาย เพื่อผ่านด่านต่อๆ ไป ในส่วนของทีม Zipevent ได้ร่วมกิจกรรม เจอโจทย์สนุกๆ ดังนี้

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

๑. กิจกรรม เติมคำในช่องว่าง ให้บทประพันธ์นั้นสมบูรณ์

โอ้เจบใจใจจริงทุกสิ่งหนอ                                                         ไม่เหนรักษรักษเราเฝ้ารักษรอ                                                               ก่นแต่ก่อก่อเข็ญเปนนิจการ                                                         ที่หวังใจใจจริงทุกสิ่งสิ้น                                                                  ไม่ฬ่อลิ้นลิ้นลมคารมหวาน                                                         ทุกวันทุกข์ทุกข์เหลือล้นจะทนทาน                                                               ควรหฤๅรานรานร้าวข่าวรวนเร                                                         โอ้อกนี้นี้จะยับด้วยอับเฉา                                                                  เพราะรักษเขาเขาไม่รักษชักหันเห                                                         เหนแสนสุดสุดร่ำขน้ำคเน                                                                  จะถ่ายเทเททุบายให้หายแคลง                                                         ถึงบอกจริงจริงใจก็ไม่เชื่อ                                                                  นี่หมีเนื้อเนื้อกำม์มาจำแกล้ง                                                               จงดนใจใจเจ้าให้เฝ้าระแวง                                                                  เพราะเหตุแหนงแหนงในที่พี่นาง                                                         ฝ่ายเราหลงหลงเหลือชื่อเชษฐา                                                               สำคัญว่าว่าแต่ปากดอกถากถาง                                                         มิรู้ก็รู้รู้ฤกนึกกั้นกาง                                                                  จะต้องค้างค้างแหงนโอ้แค้นคอ                                                         ว่าสมสาสาใจใครคิดสิ                                                                  ยังจะริริร้างทำห้างหอ                                                         พึ่งเหนรักษรักษร่วมเข้ากรวมตอ                                                               คงเปนต่อต่อหน้าเวลารวย                                                         จนเขาชมชมชื่อออกฦๅฉาว                                                                  ด้วยปะคราวคราวครั้งฉมังฉมวย                                                         เพราะได้มนต์มนต์มามะหาละลวย                                                               จึงดูรวยรวยรุ่งออกฟุ้งฟู                                                         อันเพลงภ้อภ้ออ้างเหมือนหย่างสนอง                                                               นามรักร้อยร้อยกรองต้องคู่คู่                                                         ไว้เปนแบบแบบฉบัพดำหรับครู                                                               ตามที่รู้รู้อ่านบุราณเอย ฯ

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

จากบทประพันธ์ จ่าจิตรนุกูล : ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ ที่ขีดเส้นใต้ จริงๆ แล้วทางทีมที่จัดกิจกรรม จะให้เราไปหาว่า คำอะไรที่หายไป หรือ ท่อนไหนหายไป โดยต้องเดินไปหารอบๆ วัดโพธิ์ จากนั้นก็มาตรวจสอบความถูกต้องและ ไปที่กิจกรรมที่ ๒

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

๒. กิจกรรม เติมคำให้ถูก และถอดความออกมาด้วย

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

ทางทีม Zipevent ได้บทนี้มา เป็นกลโคลงช้างประสานงา ความยากคือ ต้องหาตามประตูของวัดโพธิ์ตามทิศต่างๆ ค่อนข้างเหนื่อย พอสมควร เมื่อหาเจอแล้ว ต้องใช้ความรู้ที่เรียนมาก่อนหน้า ว่าจะถอดแบบไหน รูปแบบอย่างไร ยากมาก สำหรับทางทีม Zipevent

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

รูปถ่ายกลโคลงช้างประสานงา จากตำราประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

ขอบคุณภาพจากคุณ หมู มยุรธุชบูรพา

          ร้อนรักรัญทดแท้     ทุกข์ทน          ทนทุกข์ทุรนรน       รักร้อน          สารสั่งนุชนฤมล      มิตรมิ่ง          มิ่งมิตรสมรอย่าข้อน อกโอ้สั่งสาร ฯ

๓. กิจกรรม กลบทฤาษีแปลงสาร

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

กิจกรรมสุดท้ายเป็นการที่ ถอดความบทประพันธ์โดยใช้ กลบทฤาษีแปลงสาร ทางทีม Zipevent ได้ ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน โคลงดั้นเรื่องปฏิสังขรณ์วัดพระเชตุพน พระนิพนธ์กรมสมเด็จพระปรมานุชิตชิโนรส ซึ่งเมื่อถอดความเสร็จเรียบร้อยแล้ว ทางทีมที่จัดกิจกรรม ให้ไปถ่ายรูปสถานที่มา ทีม Zipevent ได้พระนาคปรก และรีบวิ่งไปถ่ายรูป และตรวจความถูกต้อง ว่าถอดความถูกไหม เป็นอันเสร็จกิจกรรม

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

นอกจากความบันเทิง และความรู้ที่ได้รับ ยังได้ของที่ระลึกด้วย

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทยถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

ต้องชื่นชมว่า ทางมิวเซียมสยาม มีการทำของที่ระลึก ที่เห็นแล้วนึกถึงมิวเซียมสยาม ขึ้นมาทันที รวมถึงมีความสวยงาม น่ารัก ทันสมัย และยังสอดแทรกความรู้มาในทุกๆ ชิ้น รวมถึงต้องขอบคุณมากๆ ที่ใจดีมอบบัตร Muse Pass Season 6 บัตรที่เข้าพิพิธภัณฑ์ได้ทุกที่* (ที่เข้าร่วมโครงการ และ KTC Touch ทุกสาขา) บัตรที่เห็นแล้วอยากจะออกไปตามล่า ค้นหาประสบการณ์ใหม่ ไปกับแหล่งเรียนรู้ทั่วไทย ครบรสความสนุกด้วยกิจกรรม และสิทธิพิเศษที่ได้รับ เหนือใครๆ

ใครที่อยากมาสัมผัสประสบการณ์อันน่าทึ่ง แบบนี้ รายละเอียดตามนี้เลย

วันที่ 19 -22 กันยายน 2561 วันละ 2 รอบ (สำหรับวันที่ 22 กันยายน 2561 มิวเซียมสยามมีการจัดกิจกรรมพิเศษ โปรดอ่านรายละเอียดด้านล่าง)รอบแรก 10.00 – 12.00 น. (รอบละ 30 คน/ กลุ่มละ 5 คน มี 6 กลุ่ม)รอบสอง 13.00 – 15.00 น. (รอบละ 30 คน/ กลุ่มละ 5 คน มี 6 กลุ่ม)

วันที่ 23 กันยายน 2561 วันละ 3 รอบรอบแรก 10.00 – 12.00 น. (รอบละ 30 คน/ กลุ่มละ 5 คน มี 6 กลุ่ม)รอบสอง 13.00 – 15.00 น.(รอบละ 30 คน/ กลุ่มละ 5 คน มี 6 กลุ่ม)รอบสาม 15.00 – 17.00 น. (รอบละ 30 คน/ กลุ่มละ 5 คน มี 6 กลุ่ม)

พิเศษ! วันที่ 19 กันยายน 2561 เข้าชมมิวเซียมสยามฟรี เนื่องในวันพิพิธภัณฑ์ไทย ตั้งแต่เวลา 10.00 – 18.00 น. พร้อมกิจกรรมการเรียนรู้เล่นถอนกลบทรูปแบบต่างๆ ที่ห้อง “ไทยอลังการ” (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) ดูเพิ่มเติมได้ที่นี่

ถอดรหัส "กลอักษร" ไทยถอดรหัส "กลอักษร" ไทย

ภาพ : ดารารัตน์ เรืองศรี

สามารถค้นหางานอีเว้นท์ที่น่าสนใจเพิ่มเติมได้ที่Line: @Zipevent (อย่าลืมเติม @ ข้างหน้าด้วยนะคะ) หรือจิ้มไปที่ลิ้งนี้ได้เลย https://line.me/R/ti/p/%40khj7199cInstagram: www.instagram.com/zipeventWebsite: www.zipeventapp.comTwitter: www.twitter.com/zipeventappFacebook: www.facebook.com/zipevent

Comments

comments